การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ศรีสุดา พุทธรักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี 3) เพื่อพัฒนารูปแบบและจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี โดยรวมด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี โดยรวมด้านสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก และด้านสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านก่อนาดี โดยการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 3) ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ 2) ด้านการประเมินผลการนิเทศ และ 1) ด้านการเนินการนิเทศ 4) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านก่อนาดี พบว่า ก่อนการพัฒนามีการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก และหลังการพัฒนา พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
พุทธรักษา ศ. (2022). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 4(3), 34–48. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/2010
บท
บทความวิจัย

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2556). การนิเทศภายในสถานศึกษา. ระบบออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก: https://mystou.files.wordpress.com/2012/02/23503-8-t.pdf.

คนธวรรณ เกษงาม. (2558). ความต้องการการนิเทศการสอนของครูสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

จักรกฤษ สมศิลา. (2557). การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของกระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนในสังกัดสนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

จันทร์พิมพ์ วงศ์ประชารัตน์. (2556). รูปแบบการนิเทศการศึกษาโดยกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้เป็นบุคคลภายนอก. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. นครปฐม มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิรนันท์ หาที่ถูก. (2557). การนิเทศการเรียนการสอนของโรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิระวดี สินทร. (2562). ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพกับการสร้างปฏิสัมพันธ์เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนางาน. บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัดเทศบาล นครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฉันทนา จันทร์บรรจง. (2554). การนิเทศการศึกษาแนวใหม่โดยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ. ในเอกสารการประชุมทางวิชาการพัฒนาศึกษานิเทศก์แนวใหม่ เล่ม 2. วันที่ 1-2 พฤษภาคม 2554 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมเมืองทองธานี นนทบุรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ชวลิต ชูกำแพง. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครูProfessional Learning Community: PLC. วารสารการวัดผลศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(2), 1-5.

ชัด บุญญา. (2546). หลักการแนวคิดในการนิเทศการศึกษายุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2553). การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐชานันท์ ทิพยมนตรี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา เครือข่ายการศึกษา วังจันทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐพงศ์ ทับสุลิ. (2559). การพัฒนาระบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมงานเป็นฐานสำหรับโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ ปริญญาดุษฎี บัณฑิต มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดลนภา วงษ์ศิริ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิภาพการ สอนของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ดาวรรณ์ เอมนิล. (2555). การใช้กระบวนการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการสอนโรงเรียนบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. มหาวิทยาลัยบูรพา

Acheson and Gall. (2003). Clinical Supervision and Teacher Development Perservice and Inservice Applications. U.S.A.: John Wiley & Sons, Inc.

Ben, M.H. (1995). Supervisory behavior in education (3rd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Christine, R.D. (2015). Becoming a high expectation teacher Routledge. New York: Routledge.

Good, C.V. (1993). Dictionary for education (3re ed.). New York: Mc Graw-Hall Book.