การประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยโดยใช้แนวคิด BALANCE SCORECARD (BSC.)
Main Article Content
บทคัดย่อ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีเจตนารมณ์การผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรอบรู้และมีความประพฤติที่เหมาะสมบนพื้นฐานแห่งคุณธรรม จริยธรรมและให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สนองตอบความต้องการของผู้เรียน สามารถนำไปปรับปรุงและพัฒนาการจัดเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) ในองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านพัฒนาการของนักศึกษาที่ได้รับจากหลักสูตร ด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านงบประมาณและทรัพยากร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของความเป็นมาตรฐานของหลักสูตรกับการตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3) นำผลการวิจัยไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานการณ์โลกในปัจจุบันและตลาดแรงงาน เป็นการวิจัยเชิงประเมินแบบผสมผสาน โดยใช้แนวคิด Balanced Scorecard เป็นกรอบหลักในการวิจัย พื้นที่การวิจัยคือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตและวิทยาลัย การวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 รูป/คน ประกอบด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่าและผู้ใช้บัณฑิต โดยใช้วิธีการคำนวณของ Krejcie & Morgan วิเคราะห์และอภิปรายผลโดยใช้สถิติเชิงอ้างอิง และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 35 รูป/คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง การสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า การตีความ การวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงเนื้อความแล้วอภิปรายผลเชิงพรรณา
ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของนักศึกษาที่ได้รับจากหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยระดับมาก การพัฒนาและความร่วมสมัยของหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยระดับมาก การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก และงบประมาณและทรัพยากรของหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยระดับน้อย และความสัมพันธ์ของความเป็นมาตรฐานของหลักสูตรกับความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า มุมมองด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 543, p = <.001*) ข้อค้นพบจากงานวิจัย คือ ผลลัพธ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่ได้รับจากหลักสูตรสะท้อนให้เห็นบริบทแห่งมหาวิทยาลัยที่สามาถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่กับคุณธรรมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ประเด็นสำคัญที่ควรปรับปรุงคือ การปรับลดขนาดของบางกลุ่มรายวิชาลง การเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความฉลาดทางอารมณ์ สามารถครองตน ครองคน และครองงานได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา คุณารักษ์. (2540). พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กาญจนา คุณารักษ์. (2540). หลักสูตรและการพัฒนา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชาคร คัยนันทน์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการบริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร-บัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. 6(2) 100-108.
ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้รียนเป็นศูนย์กลาง โมเดลซิปปา.กรุงเทพมหานคร: เดอะ มาสเตอร์ กรุป แมเน็จเมนท์.
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธ์. (2550). เอกสารการเรียนรู้การวิจัยด้วยตนเอง. สถาบันวิจัยและพัฒนา,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บันลือ พฤกษะวัน. (2543). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท คอมแพคพริ้นท์.
ภควัต โอวาท. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้วิธีดุลยภาพสำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2563). หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง.คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์. นครปฐม. (เอกสาร มคอ. 2).
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2554). การปรึกษาทางจิตวิทยา. คณะศึกษาศาสตร์, นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ.วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9(2) 169-176.
วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี–สฤษดิ์วงศ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2560). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วิฑูรย์ วีรศิลป์ และลักษณา อินทร์บึง. (2563). แนวคิดการพัฒนาอัตลักษณ์ของบัณฑิตทางสาขาวิชารัฐประศาสนสาสตร์. Journal of Modern Learning Development. 5(1). 108-124.
สิทธานต์ ดีล้น. (2560). สื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่: เดอะโนว์เลจเซ็นเตอร์.
Kaplan, Robert S., and Norton David P. (1996 a). The Balanced Scorecard:Translating. Strategies into Action. Boston : Harvard Business School Press.
Oliva, P.F. (1992). Developing the Curriculum. (3ed). New York : Harper Collins.