บทบาทสภาองค์กรชุมชนกับการพัฒนาประชาธิปไตยฐานราก The Role of the Community Organization Council and the Development of Foundation Democracy
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอให้เห็นถึงบทบาทของสภาองค์กรชุมชนกับการพัฒนาประชาธิปไตยฐานราก จากการศึกษาและสรุปบทเรียนการขับเคลื่อนงานพัฒนากิจการสภาองค์กรชุมชน พบว่า สภาองค์กรชุมชน ได้เข้าไปมีบทบาทและสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยฐานราก ซึ่งเริ่มต้นจากชุมชน/หมู่บ้าน เป็นรูปแบบของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นภาคประชาสังคมที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยให้กับปัจเจกบุคคล โดยให้หมู่บ้าน/ชุมชนท้องถิ่น เป็นพื้นที่กลางในการประชุมเพื่อปรึกษาหารือทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่งเสริมวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ดังนั้นการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนตำบลจึงมีความโน้มเอียงและนำไปสู่การสร้างให้ชุมชนปกครองตนเอง ดูแลตัวเองตามแนวคิด ประชาธิปไตยที่ประชาชนปกครองตนเอง เพื่อให้ชุมชนเป็นยุทธศาสตร์การสร้างประชาธิปไตยในระดับชุมชนท้องถิ่น เริ่มจากหมู่บ้าน/ชุมชน ควบคู่ไปกับการสร้างประชาธิปไตยในระดับชาติได้ ซึ่งเป็นไปตามเจตจำนงหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ได้ระบุถึงความคาดหวังต่อการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนไว้ว่า เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ การสร้างระบอบประชาธิปไตย และระบบธรรมาภิบาลซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรับรองสิทธิ ชุมชน และประชาชนให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น ตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ประเวศ วะสี. (2549). การเมืองสมานฉันท์ สร้างสรรค์ความเข้มแข็งท้องถิ่น ในต้นทางชุมชน ชุมชน ประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม.
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2553). การลุกขึ้นสู้ของคน ยอดหญ้า: บทวิเคราะห์ในเชิงมิติการเมือง RED WHY แดงทำไม.กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2449). การเมืองสมานฉันท์: หนทางสู่การแก้ไขความขัดแย้งในสังคมสองขั้ว ต้นทางชุมชน ชุมชนประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม.
ยุกติ มุกดาวิจิตร. (2553). ชนชั้นใหม่ ชนบทใหม่ และท้องถิ่นใหม่ บททบทวนวรรณกรรมว่าด้วย การเมืองไทย ทศวรรษ 2530 - 2550. ฟ้าเดียวกัน 8(3).
รัชนี ประดับ. (2556). สภาองค์กรชุมชน: การเมืองใหม่และการท้าทายต่อกลุ่มอำนาจในท้องถิ่น.สถาบันพระปกเกล้า, 2: 113-128.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.(2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 3 มาตรา 43. สืบค้นเมื่อ3 ธันวาคม 2565 จาก https://www.google.com/search?q=.69i57.38137j0j15&sourceid=chrome&ie=UTF-8.
พระราชบัญญัติ.(2551).พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 26. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565 จาก: https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/16930.
สถาบันพระปกเกล้า.(ออนไลน์). รากฐานประชาธิปไตย. สืบค้นเมื่อ3 ธันวาคม 2565 จาก https://www.kpi.ac.th/knowledge/book/data/445?page=48.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2559). ก้าวสู่ทศวรรษ สภาองค์กรชุมชน เปิดพื้นที่กลาง สร้างนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2560). พอช.มุ่งสร้างชุมชนเข้มแข็ง. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์.
อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2553). ประชาธิปไตยชุมชน: รัฐศาสตร์สำหรับสภาองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ:สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.
โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (ออนไลน์). กลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเองของท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565 จาก http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2677.