การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 The Factors analysis of Digital Competency for Education Management Administrators Under The Loei Primary Education Area 1

Main Article Content

นวพัฒน์ ชัชวาลย์
กรรณิกา ไวโสภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบด้านสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และ 2) เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนขององค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 500 คน เครื่องมือทีใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ


ผลการวิจัยพบว่า


1.องค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านความรู้ดิจิทัล 2) ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล 3) ด้านการบริหารจัดการและนำองค์กรดิจิทัล และ 4) ด้านวัฒนธรรมดิจิทัล


2. โมเดลองค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า ดัชนีทุกตัวผ่านเกณฑ์การประเมินความสอดคล้องในระดับดี โดยผลการตรวจสอบดัชนีความสอดคลองพิจารณาค่า p-value = 0.07 ค่า Chi-square/df เท่ากับ 1.41 SRMR เท่ากับ 0.01 RMSEA เท่ากับ 0.03 NFI เท่ากับ 0.99 NNFI เท่ากับ 1.00 CFI เท่ากับ 1.00  GFI เท่ากับ 0.99 AGFI เท่ากับ 0.96

Article Details

How to Cite
ชัชวาลย์ น., & ไวโสภา ก. (2023). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1: The Factors analysis of Digital Competency for Education Management Administrators Under The Loei Primary Education Area 1. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(1), 169–182. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/2454
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559- 2561). กรุงเทพฯ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กัญญารัตน์ สุขแสน. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต.

กมลทิพย์ อินแก้วเครือ. (2564). ทักษะและภาวะผู้นาของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. 14(1): 985–990.

กุลนที ทองจันท์. (2562). ผู้บริหารยุคใหม่กับเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2565 จาก https://www.gotoknow.org/posts/429105.

ชวลิต เกิดทิพย์, ผ.ว., ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ และวสันต์ อติศัพท์,. (2552). รูปแบบการพัฒนาภาวะ ผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้. สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ชุติรัตน์ กาญจนธนชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2559). การเป็นผู้นำยุคเศรษฐกิจดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรทางการศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(1), 220-221.

ทินกร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา The Status of Digital Leadership of Education Management Administrators. วารสารครุศาสตร์สาร, 13(2), 285-294.

ธิดา แซ่ชั้น และ ทัศนีย์ หมอสอน. (2559). การรู้ดิจิทัล: นิยาม องค์ประกอบ และสถานการณ์ ในปัจจุบัน. Journal of Information Science, 34(4), 116-145.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล = Human resource development in the digital era. กรุงเทพฯ : โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปกรณ์ ลี้สกุล. (2561). Leadership in Digital Era : ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565. จาก https://today.line.me/th/pc/article/Leadership+in+Digital+Era.

ศศิวิมล ม่วงกล่ำ. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านความสามารถทางดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (2561). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของประเทศไทย เพื่อนำไปสู่ Thailand 4.0. วารสารกสทช, 2(ธันวาคม), 24-42.

สุชญา โกมลวานิช และคณะ. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. ใน สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน (บ.ก.) การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 (น.700-708). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). กรอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับพลเมืองไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565. จาก https://web.parliament.go.th/assets/portals/1/files/ digital_competence_framework_for_thai_citizens.pdf.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ยุค Digital 4.0 เมื่อโลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2565. จาก http://www.ops.moe.go.th/ops2017.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2559). การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy). สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2565, จาก https://www.nstda. or.th/th/nstda-/2632-digital-literacy.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565. จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir.

เอกรัตน์ เชื้อวังคำ, วัลลภา อารีรัตน์. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. การประชุมผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22. วันที่ 24 มีนาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Ala-Mutka, K., Punieand, Y., & Redecker, C. (2008). Digital competence for lifelong learning: policy brief. Luxembourg: Office for Official Publications of the European Communities.

American Institute for Research. (2009). Evaluation of the school technology leadership initiative: (report 2). Washington DC: American Institutes of Research.

ISTE. (2009). National Educational Technology Standard for administrators. Retrieved January 15, 2022 from http://www.iste.org/standards/ISTE-standards/standards-Foradministrators.

Sheninger, E. (2013). 7 Pillars of Digital Leaders. Retrieved January 15, 2022 from http://www.teachthought.com/technology/7-pillars-digitalleadership-education.

Sullivan, L. (2017). 8 Skills Every Digital Leader Needs. Retrieves January 16, 2022, from https://www.cmswire.com/digital-workplace/8-skills-every-digital-leader-needs/