การพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดหนองบัวลำภู The Development of the Measurement Instruments of the Media Literacy Skills in the 21st Century for 6th Grade Students in Nongbualamphu Province

Main Article Content

จารุวรรณ ทองขัน
มณีญา สุราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อใน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อใน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ในจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 567 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบบวัดประกอบด้วยข้อคำถาม 50 ข้อ ที่มุ่งวัดวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ได้แก่ ทักษะการเข้าถึง ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการประเมินสื่อ ทักษะการสร้างสรรค์ และทักษะการมีส่วนร่วม เป็นข้อสอบสถานการณ์ 4 ตัวเลือก 


ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อเป็นข้อสอบสถานการณ์เหมาะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบวัดมีคุณภาพสามารถนำไปใช้วัดทักษะในศตวรรษที่ 21
ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ทองขัน จ., & สุราช ม. (2023). การพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดหนองบัวลำภู: The Development of the Measurement Instruments of the Media Literacy Skills in the 21st Century for 6th Grade Students in Nongbualamphu Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(1), 142–155. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/2503
บท
บทความวิจัย

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้ง ที่ 11. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นครชัย ชาญอุไร. (2561). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. อุดรธานี : หจก.โรงพิมพ์บ้านเหล่าการพิมพ์ 1993.

ปวีณา มะแซ. (2561). การพัฒนาแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและประเมินผลการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรรทิพย์ ทั่วสูงเนิน. (2562). การสร้างแบบวัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาตาพับลิเคชั่น.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

สุกัญญา งามบรรจง. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะ ในศตวรรษ ที่ 21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อัครเดช นีละโยธิน. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

อุษา บิ๊กกิ้นส์. (2555). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

Center for Media Literacy. (2008). Literacy for the 21st century: An overview & orientation guide to media literacy education. (2nd ed.). Malibu. CA: Center for Media Literacy.

Pacific Policy Research Center. (2010). 21st Century Skills for Students and Teachers.Honolulu: Kamehameha School, Research & Evaluation Division.

Pallant, J. (2010). SPSS survival manual: A step by step guide to data analysis using SPSS. Publisher: Open University Press.