การศึกษาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 Study of Competency of Teachers in 21st Centery Under Loei Primary Education Service Area Office 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 289 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยแบ่งชั้นตามอำเภอ และเก็บข้อมูลกับครูในแต่ละโรงเรียนโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยรวมและรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้าน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง จำแนกตามอายุ โดยรวมและรายด้าน โดยรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณารายด้าน ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้าน พบว่าโดยรวมไม่แตกต่างเมื่อพิจารณารายด้าน ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ.วารสารสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 12(2):47-63.
ไชยยันต์ ถาวระวรณ์. (2544). การพัฒนารูปแบบการประเมินการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในกรมอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.
บวร เทศารินทร์. (2556). บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2565 จากhttp://www.thai-school.mel/images/tj-workoo517.htm.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2551). การจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงจินดา แดนพิมาย. (2562). การพัฒนาสมรรถนะ ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร :มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สุธี บูรณะแพทย์.(2557). สมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สุภาพรรณ ธะยะธง. (2562). การศึกษาสมรรถนะของครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต.การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). การพัฒนาวิชาชีพครูสู่ยุคปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2. เอกสาร ประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการ การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูป การศึกษาทศวรรษที่ 2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1-2.
เสริมศักดิ์ คงสมบัติ. (2563). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10.หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อริสา นพคุณ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
Nelson Contentce Simmon. (2012). Teacher Skills for the 21st Century. Retrieved from http://www.ehow.com/print/list_6593189_teacher-skills-21st -century.html.