ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 21st Century Administrative Skills Of School Administrators According To The Opinions Of Government Teachers Under Samutsakhon Primary Educational Service Area Office
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 เป็นกลไกและตัวแปรสำคัญในด้านการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีคุณลักษณะโดดเด่นที่เหมาะสม มีทักษะความรู้เชิงทฤษฎี บทบาทหน้าที่ คุณธรรมและประสบการณ์ทางการบริหารการจัดการศึกษายุคใหม่ เพื่อนำพาสถานศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ สามารถตอบสนองต่อการแข่งขัน ทันสมัยและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำแนกตามวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 322 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ . 990 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ดังนี้ 2.1) ข้าราชการครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานการประกันคุณภาพการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานการประกันคุณภาพการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ข้าราชการครูที่ทำงานในขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานการประกันคุณภาพการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้าน ส่วนใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ไกรศร เจียมทฟอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
คะนึงนิตย์ กิจวิธี. (2560). การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
คณาพงษ์ พึ่งมี. (2562). ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ,2(2):50-58.
ชัยยนต์ เพาพาน (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. กาฬสินธุ์:การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21, 28 กรกฎาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
ถวิล ศรีสุข.(2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อทักษะผู้บริหารโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จังหวัดสุรินทร์. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ถวิล อรัญเวศ. (2560). ผู้บริหาร กับการครองตน ครองคน และครองงาน : สุดยอดนักบริหาร. นครราชสีมา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถ มศึกษานครราชสีมา เขต 4.
นฤมล หน่อแก้ว.(2562). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนในสำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2556). ทักษะสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ญมา แพ่งศรีสาร. (2561). คุณลักษณะผู้บริหารทางการศึกษาในยุคศตวรรษใหม่. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 2(2), 131-141.
บุญส่ง กรุงชาลี .(2561). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขึ้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ประภัสสร สุขสวัสดิ์ .(2560). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูใน สถานศึกษาศูนย์เครือข่ายลุ่มน้ำพองสังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดขอนแก่น. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ปัทมพร พงษ์เพชร .(2561). ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ปัทมา ประทุมสุวรรณ. (2562). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 2.
พรปวีณ์ ไกรบำรุง. สมบูรณ์ ตันยะ สงวนพงศ์ ชวนชมและวรสิทธิ์ รัตนวราหะ. (2565). รูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์,9(2),119-131.
มณฑาทิพย์ นามนุ.(2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วริศรา บุญธรรม. (2560). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรีและตราด. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
วัลลิภา พูลศิริ. (2562). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วิจารณ์ พานิช. (2553). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
วิทยา ไชยศรี.(2560).ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกบการใช้ทักษะการบริหารงานของประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ศศิรดา แพงไทย.(2559).บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21, วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. 6 (1): 7.
สุรศักดิ์ เนืองภา. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน เครือข่ายที่ 71 กรุงเทพมหานคร. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
สุดารัตน์ เหมาะสมาน. (2561). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง. สาขาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุวรรณ์ แก้วนะ. (2562). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหาร เทศบาลตามหลักพุทธธรรม. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์.
สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่21.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม,7(1):1-7.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580). กรุงเทพฯ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ .
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
อังคณา จะนะบูรณ์.(2562).การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราช ภัฏรำไพพรรณี.
อติกาญจน์ ศรีสังข์. (2564). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Campbell, R.F. and et al. (1978). Introduction to Educational Administration.5 th ed. Boston: Allyn and Bacon.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York: Harper Collins.
Conger, J.A. (1989). The Charismatic Leader: Behind the Mystique of Exceptional Leadership. San Francisco: Jossey-Bass.
Daftly, R.L. (1999). Leadership: Theory and Practice. Orlando: The Dryden.
Drake, T.L, and Roe, W.H. (1996).The Principal Ship. 3rd ed. New York: Macmillan.
Dubrin, J. (1998). Leadership Research Finding: Practice and Skill. Boston: Houghton Mifflin.
Kindred, L. (1975). School Public Relation. New Jersey: Englewood Cliffs.