การพัฒนาปัจจัยยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น Strategic Factor Development Management that Affects Being a Learning Organization of the Local Government Organization
Main Article Content
บทคัดย่อ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีการปรับยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร และภายนอกองค์กร โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ สร้างแนวทางในการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด การวิจัยครั้งนี้ มีวัตุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อศึกษาปัจจัยยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ เพื่อสร้างและยืนยันรูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 324 คน โดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง .711 - .875 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ระดับปัจจัยยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 3.28) ปัจจัยยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ภาพรวม มีตัวทำนาย 8 ตัว คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหาร ด้านวิสัยทัศน์ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านกลยุทธ์ ด้านการบริหารจัดการความรู้ ด้านความผูกพัน ด้านการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี มีน้ำหนักทำนาย (ß) .246, .327, .120, .147, .113, .102, .118, และ -.120 ค่าร้อยละการทำนายเป็น 74.5 ตามลำดับ และรูปแบบต้นแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น มีประเด็นสำคัญ คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญของการบริหารจัดการการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการทำงานเป็นทีมเพื่อยกระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ได้รับการยอมรับ อีกทั้งมีการพัฒนาทักษะจำเป็นสำหรับบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสำหรับจัดการความรู้ และที่สำคัญบุคลากรในองค์กรมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนยกระดับการเป็นต้นแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นำและภาวะผู้นำการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ขวัญรุ่ง อยู่ใจเย็น. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
จินตนา บุญบงการ. (2559). จริยธรรมในวิชาชีพนักธุรกิจ. นครปฐม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไชยสิทธิ์ ปิยมาตย์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการของกองทัพบก. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ และจินตนา บุญบงการ. (2548). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชัน.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษาเพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. ขอนแก่น: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.
เปรมศิริ เนื้อเย็น. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
พรชัย เจดามาน. (2560). ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่21 : ไทยแลนด์4.0. (ออนไลน์).สืบค้นจากhttps://www.kroobannok.com/83312.
แพนศรีศรีจันทึก. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุนกรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
รูสนานี ยาโม. (2556). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วรรณะ บุษบา. (2553). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม.
วรรณะ บุษบา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยสยาม.
ศศกร ไชยคำหาญ. (2550). ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สะกี้หน๊ะ หลีแอ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Garvin, D.A., Edmondson, A.C. and Gino, F. (2008). Is Yours a Learning Organization? Harvard Business Review, pp.109-115.
Hoy, W. K. & Miskel, C.G. (2001). Educational administration: Theory, research, and practice. (6 th ed), Boston: McGraw - Hall.
Lunenburg, F.C. and Ornstein, A. C. (2004). Educational Administration Concepts and. Practices. Newyork: Thomson Learning, Inc.
Marquardt, M. J. and Reynolds, A. (1994). The Global Learning Organization. New York : IRWIN.
Marquardt, M.J. (1996). Building the Learning Organization : A Systems Approach to. Quantum Improvement and Global Success.New York : McGraw-Hill.
Stanage, Kenneth Jon. (1996). Using Technology to Create a Learning Organization (Leadership). from Pro Quest File : Dissertation Abstract Item 9629070.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row.