การใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 สำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ The use of Merit-Kiriya-Wathu 3 Principles for Improving the Quality of Life of the Elderly in the Northeastern Region

Main Article Content

พระมหาอำนวย มหาวีโร
ประพิศ โบราณมูล
อุทัย ภูคดหิน
สุวนันท์ เฉลยพจน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาการใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 สำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อเสนอแนะการใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 สำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวบข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านที่ 2 สภาพความเป็นอยู่ รองลงมา ด้านที่ 2 สภาพร่างกาย และน้อยสุด ด้านที่ 1 สภาพอารมณ์  2) การใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 สำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านที่ 2 ด้านการรักษาศีล  ด้านที่ 3 ด้านการเจริญภาวนาและน้อยสุด ด้านที่ 1 ด้านการให้ทาน 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 สำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียงลำดับตามความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้ ควรรักษาศีลเพื่อเป็นการแสดงเจตนางดเว้นการกระทำทางกายและวาจาที่จะนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่น รองลงมา คือ ควรให้ทานตามกำลังศรัทธาเมื่อให้ทานไปแล้วจะได้ไม่มาคิดเสียดายภายหลังหรือต้องให้ไปด้วยความไม่เต็มใจ และน้อยสุด คือ ควรปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น นำไหว้พระ สวดมนต์ เป็นตัวอย่างที่ดี

Article Details

How to Cite
มหาวีโร พ., โบราณมูล ป., ภูคดหิน อ., & เฉลยพจน์ ส. (2023). การใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 สำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: The use of Merit-Kiriya-Wathu 3 Principles for Improving the Quality of Life of the Elderly in the Northeastern Region . วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 69–79. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/2750
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการสำนักเลขาธิการวุฒิสภา.

ฐากูร หอมกลิ่น. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี.วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 14(49), 85-93.

ธีรนุช ชละเอม ยุวดี ลีลัคนาวีระ พรนภา หอมสินธุ์. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 10(2), 19-32.

นิริศรา เปรมศรี สุทธิรักษ์ วิเศษสังข์ ประชาชาติ อ่อนคำ วัฒนพงษ์ คงสืบเสาะ ชยานนท์ อวิคุณประเสริฐ. (2559). การศึกษาสมรรถภาพทางกาย และสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 6(3), 18-25.

บรรจง ลาวะลี และคณะ. (2564). การพัฒนากิจกรรมนันทนาการเพื่อสร้างสมรรถนะจิตใจและทางกายของโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา. 6(2), 77-86.

พระครูวินัยธรอำนาจ พลปญฺโญ และคณะ. (2561). รูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักธรรม : กรณีศึกษาตำบลบ้านปรือ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 13(2), 81-82.

พระครูอรรถจริยานุวัตร และคณะ. (2561). วัดเพื่อผู้สูงอายุ : รูปแบบการดำเนินกิจกรรมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในวัดอย่างยั่งยืน. รายงานการวิจัย. นครปฐม : สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระสราวุฒิ ปญฺญาวุฑฺโฒ. (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแนว ุตามแนวพระพุทธศาสนาในมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เขตเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดแพร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 2(2), 58-59.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุและมุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. นครปฐม: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สมบัติ กาวิลเครือ (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 7(3), 161-173.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ (ชําระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ 1). พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สนธยา พลศรี. (2545). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

บุญรอด บุญเกิด และพิชญรัตน์ เหมนำไลย (2562). แนวทางส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 15(2), 11-26.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 9(3), 57-69.