ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี Factor Affecting Environmentally Responsible Behaviors of Secondary school Student 3 under the Office of Secondary Educational Service Udon Thani
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลและสร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสอบความรู้ทางสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี มีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการใช้ทรัพยากร รองลงมา คือ ด้านการเป็นพลเมือง ด้านการบริโภค ด้านการใช้สิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ ด้านการลดปริมาณขยะและด้านกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ส่วนระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยเจตคติต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ความสามารถของตน การได้รับการสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจภายใน ลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตนเอง ความเชื่ออำนาจในตน และความรู้ทางสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันในทางบวกและมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อยู่ระหว่าง 0.54 – 0.79 3) ปัจจัยความเชื่ออำนาจในตน เจตคติต่อสิ่งแวดล้อม ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม แรงจูงใจภายใน การได้รับการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถของตน และลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตนเอง สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนได้ มีประสิทธิภาพในการทํานายร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกษม จันทร์แก้ว. (2556). การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชลายุทธ ครุฑเมือง. (2555). พฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของครู : ปัจจัยและการพัฒนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร และการเรียนการสอน. ขอนแก่น: สถาบันราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชวนชัย เชื้อสาธุชน. (2546). รายงานการวิจัย เรื่อง ตัวบ่งชี้ทางจิตสังคมของพฤติกรรมการประหยัด ทรัพยากรของอาจารย์ในสถาบันราชภัฏ. [ม.ป.ท.]: ทุนอุดหนุนการวิจัยและพัฒนาระบบ พฤติกรรมไทย. สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2539). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ธนาดล ยิ้มถนอม. (2554). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิติกร อ่อนโยน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระดับศึกษาตอนปลาย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13(3), 1-16.
ปริญญา นุตาลัย. (2535). ความเห็นเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาของไทย ในสิ่งแวดล้อม. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ.
ภาสินี เปี่ยมพงศ์สานต์. (2548). สิ่งแวดล้อมศึกษา แนวการสอน สาระการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มารียัม เจ๊ะเต๊ะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น:กรณศึกษา โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ยุพดี เสตพรรณ. (2544). ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: พิศิษฐ์การพิมพ์.
ระพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ. (2543). สิ่งแวดล้อมศึกษาในสังคมไทย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6 (3 ก.ย. – ธ.ค.).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.พ). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ.
สำอาง สีหาพงษ์. (2530). การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดและการเรียนวิชาชีพ ในระดับมัธยม ศึกษาสายสามัญ: ความจำเป็นและการเปลี่ยนแปลงค่านิยม และเจตคติที่มีต่องานอาชีพ. วารสารการวิจัยทางการศึกษา (3) กรกฎาคม – กันยายน, 68.
Gambro, John S. & Switzky, Harvey N. . (1996). A National Survey of High School Students’ Environmental Knowledge. The Journal of Environmental Education, 27 (3).
Cordano, M., Welcomer, S., Scherer, R. F., Pradenas, L. & Parada, V. (2011). A cross-cultural assessment of three theories of pro-environmental behavior: A comparison between business students of Chili and the United States. Environment and Behavior, 43(5), 634-657.