การสร้างแบบวัดความสามารถการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย A Construction of Summary Writing Efficiency Test of Thai subject for Senior high School Student under The Nong Khai Secondary Education Service Area Office

Main Article Content

พชร ศิริรัตนศรีสกุล
มณีญา สุราช

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความสามารถการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของแบบวัดความสามารถการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย 3) เพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบวัดความสามารถการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565  จำนวน 547 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบวัดความสามารถการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทยประกอบด้วยข้อคำถาม 32 ข้อ ที่มุ่งวัดความสามารถการเขียนสรุปความที่มีองค์ประกอบการสรุปความ ได้แก่ ใจความสำคัญและประเด็นสำคัญ ข้อความสนับสนุน และคำอธิบายเพิ่มเติม เป็นข้อสอบสถานการณ์ ปรนัย 5 ตัวเลือก 30 ข้อ และ อัตนัย 2 ข้อ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) วิเคราะห์ค่าความยากง่าย วิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดเป็นรายข้อโดยใช้สูตร Item Total Correlation วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้วิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน(KR-20) และการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA)


          ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดความสามารถการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย เป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์เหมาะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบวัดมีคุณภาพสามารถนำไปใช้วัดความสามารถการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบวัดพบว่า 1) แบบวัดมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC มีค่าตั้งแต่ 0.80 -1.00 2) ค่าความยากง่าย มีค่าตั้งแต่ 0.33 – 0.80 3) ค่าอำนาจจำแนก มีค่าตั้งแต่ 0.40 – 0.76  4) แบบวัดมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าไคสแควร์ (gif.latex?x^{2} ) = 332.96 , p = 0.139, df = 306, RMR = 0.031, RMSEA = 0.016, GFI = 0.94 และค่า AGFI = 0.91) ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของคู่มือการใช้แบบวัดความสามารถการเขียนสรุปความ เท่ากับ 0.80

Article Details

How to Cite
ศิริรัตนศรีสกุล พ., & สุราช ม. (2023). การสร้างแบบวัดความสามารถการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย: A Construction of Summary Writing Efficiency Test of Thai subject for Senior high School Student under The Nong Khai Secondary Education Service Area Office. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 112–124. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/2806
บท
บทความวิจัย

References

กัญญา ทิพย์ลาย. (2545). การสร้างแบบฝึกการเขียนสรุปความจากบทร้อยแก้วสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ขนิษฐา แสงภักดี . (2540). การใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียนสรุปความจากบทร้อยแก้วของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จารุพร ตั้งพัฒนกิจ และ ปาณิก เสนาฤทธิไกร. (2565).บทบาทของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบจำลองสมการโครงสร้าง. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1 (2) ,99-110.

จินตนา แสงประเสริฐสุข. (2554).การสร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสาร หลักการใช้ภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เฉลิมพล ณ เชียงใหม่. (2547). การใช้แผนภูมิมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและการเขียนสรุปความนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชวาล แพรัตกุล. (2516). เทคนิคการวัดผล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2545). การสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ:สุรีวิยาสาส์น.

สมเกียรติ ทานอก. (2539). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมสำหรับเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.