การสร้างแบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดอุดรธานี A Construction of analytical thinking ability test for Prathomsuksa 6 under the office of the basic education commission Udon Thani Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อหาคุณภาพของแบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อสร้างคู่มือสำหรับแบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 ในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 662 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 45 ข้อ โดยให้คะแนนตอบถูกได้ 1 ตอบผิดได้ 0 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) แบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ มีลักษณะเป็นแบบ 4 ตัวเลือก 1 คำตอบ จำนวน 45 ข้อซึ่งใช้วัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์ความสำคัญ ด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ด้านการวิเคราะห์หลักการ
2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ พบว่า ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่าตั้งแต่ 0.60-1.00 ค่าความยากง่าย มีค่าตั้งแต่ 0.58-0.79 ค่าอำนาจจำแนก มีค่าตั้งแต่ 0.58-0.79 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.959 แบบวัดมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไคสแควร์ (X2) = 669.93 (p = 0.449) df = 666 ค่า RMR = 0.025 ค่า RMSEA = 0.004 ค่า GFI = 0.94 และค่า AGFI = 0.90
3) คู่มือการใช้แบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ มีความเหมาะสมและมีส่วนประกอบสำคัญครบ ผลการประเมินคู่มือการใช้แบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยมีค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้างของแบบวัด เท่ากับ 0.83
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กิติยาภรณ์ สุปะทัง.(2560). การสร้างแบบวัดการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี และ คณะ. (2549). การนําเสนอรูปแบบเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูงของนิสิตนักศึกษาครูระดับปริญญาตรีสําหรับหลักสูตรครุศึกษา. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรี อุปปะ และคณะ. (2555). การสร้างแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(1), 137-143.
วนิช สุธารัตน์.(2547). ความคิดและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใชสถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.
อาภรณ์ แสวง.(2555). การสร้างแบบวัดการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Bloom. (1971). Hand book on formative and summative evaluation of student learning. New York: Mc Graw-Hill Book.
Davis, K. (1972). Human behavior at work: Human relation and organization behavior. 4th ed. New York: McGraw-Hill.