การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรทางการศึกษาสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน Development of Information Technology using skills of educational staff in Technology for Teaching and Learning Bureau at Office of the Basic Education Commission

Main Article Content

ธนา เลิศธนา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรทางการศึกษา สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อเปรียบเทียบระดับความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรทางการศึกษาประกอบด้วย ด้านคอมพิวเตอร์ด้านระบบสื่อสาร และด้านเทคโนโลยีเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาคือบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 52 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางเครจซีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามระดับประมาณค่า ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีค่าดัชนีสอดคล้อง 0.60 – 1.00 และมีค่าเฉลี่ยความเชื่อมันทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษา ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟและการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ


          ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ระดับความต้องการการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรทางการศึกษาสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายด้านโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ส่วนใหญ่คือ ด้านคอมพิวเตอร์อันดับที่สอง คือด้านระบบสื่อสารและลำดับสุดท้ายคือด้านเทคโนโลยีเครือข่ายตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมือพิจารณาเปรียบเทียบเป็นรายด้าน บุคลากรทางการศึกษา มีทักษะในด้านคอมพิวเตอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพียงด้านเดียว

Article Details

How to Cite
เลิศธนา ธ. (2023). การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรทางการศึกษาสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: Development of Information Technology using skills of educational staff in Technology for Teaching and Learning Bureau at Office of the Basic Education Commission. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 168–180. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/2869
บท
บทความวิจัย

References

กชมน บ่อบัวทอง.(2553).ความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารจัดการระบบสารสนเทศของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.บัณทิตวิทยาลัย:วิทยาลัยทองสุข.

ชนินทร เฉลิมสุข และ อภิชาติ คำปลิว.(2562).เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ชินวัตร เจริญนิตย์.(2563).การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา.วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต บทความวิชาการ.21(1),51-58.

ในตะวัน กำหอม.(2559).การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3) โรงพิมพ์ ทีคอม มหาสารคาม.วิทยาลัยทองสุข.

มงคล กำจร.(2551).สมรรถภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.ครุศาสตร์มหาบัณฑิต.เทคโนโลยีและการสื่อสาร :มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.

โสภี วิวัฒน์ ชาญกิจ.(2565).การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูเพื่อการบริหารงานโรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา ๕ ทานสัมฤทธิ์ จังหวัดนนทบุรี.คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์.สาขาวาการบริหารการศึกษา.วิทยาลัยทองสุข.

แผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2555-2558.(2555).สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542แก้ไข เพิ่มเติม พ.ศ. 2553.(2553).สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

อาภรณ์ อังสาชน.(2551).พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

Assawabhum, S. (2008). Modern Education Administration Theory and Practice. (4th edition). UbonRatchathani: Ubonkij offset. (in Thai).