การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 The Development of Learning Activities using Storyline Method that Promotes Achievement and Retention in Learning on The Subject of History for Prathomsuksa 5 Students
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 และ 2. ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ ดังนี้ 2.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 80 2.2 ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 24 คน วิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ฯ 2. ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ ระยะเวลาทดลองจำนวน 3 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติ t-test (One-sample) และ t-test (Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
- กิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ฯ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) อาณาจักรอยุธยา 2) บุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา 3) ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา 4) อาณาจักรธนบุรี 5) บุคคลสำคัญในสมัยธนบุรีและ 6) ภูมิปัญญาไทยสมัยธนบุรี ซึ่งมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 7 ขั้นตอน คือ 1) เตรียมหัวเรื่อง 2) เตรียมการผูกเรื่อง 3) การตั้งคำถามหลัก 4) ผู้เรียนตอบคำถามหลัก 5) การจัดลักษณะชั้นเรียน 6) การประเมินผล และ 7) การกำหนดระยะเวลาสอน เมื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพของกิจกรรมเท่ากับ 85.27/83.61
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- คะแนนการทดสอบหลังเรียนและการทดสอบหลังเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). คู่มือการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และ บริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ประจำปี 2554-2556. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯกระทรวงศึกษาธิการ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร. 5(1), 1 - 16.
ทองพิมพ์ นารถโคษา. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีสตอรี่ไลน์หน่วยชีวิตกับ เศรษฐกิจ พอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.
ปนัดดา โภคพิพัฒน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แบบเดินเรื่องที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
โรงเรียนอนุบาลเมือง (ท่าหลวงสงเคราะห์). (2564). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลเมือง (ท่าหลวงสงเคราะห์). โรงเรียนอนุบาลเมือง (ท่าหลวงสงเคราะห์): จังหวัดพิจิตร.
วารินทร์ รัศมีพรหม. (2542). การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน. กรุงเทพฯ: วิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วลัย พานิช. (2543). การสอนด้วยวิธี Storyline. ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธี Storyline. กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2554). การจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา.เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 472552 สัมมนาหลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา.ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุไรยา หมะจิ, จุฑารัตน์ คชรัตน์ และเก็ตถวา บุญปราการ. (2563). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิชาประวัติศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ อำเภอหัวไทร จังหวัด นครศรีธรรมราช. ศษ.ม. หลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อรทัย มูลคำและคณะ. (2542). Child Center : Storyline Method การบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.
อรทัย มูลคำ และสุวิทย์ มูลคำ. (2544). CHILD CENTER : STORY METHOD. ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
อริย์ธัช ฉ่ำมณี, อรัญ ซุยกระเดื่อง และอาทิตย์ อาจหาญ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์โดยประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13(3), 301 – 313.
Lipka, A. K. (1997). The Storyline as an Innovation. School Vaa Beel, 2, 10-13.