แนวทางการพัฒนาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม Guidelines for Development Budgeting Management in Schools under The Secondary Educational Service Area Office Maha Sarakham
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู รวมจำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการจำเป็นเรียงตามลำดับจากสูงสุดถึงต่ำสุดดังนี้ คือ ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ด้านการบริหารการเงินและบัญชี ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ด้านการตรวจสอบติดตาม และประเมินผล และการวางแผนงบประมาณ ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ประกอบด้วย ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ แนวทาง คือ 1) การดำเนินงานตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ 2) การวางแผนการบริหารงบประมาณด้านพัสดุและสินทรัพย์ ด้านการบริหารการเงินและบัญชี แนวทาง คือ 1) ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารการเงินและบัญชี 2) การปฏิบัติตามระเบียบการบริหารการเงินและบัญชี 2) การจัดทำแผนการปฏิบัติงานการบริหารการเงินและบัญชี ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา แนวทาง คือ 1) การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากร 2) การใช้ประโยชน์จากการระดมทรัพยากรตามวัตถุประสงค์ ด้านการตรวจสอบติดตามและประเมินผล แนวทาง คือ 1) การตรวจสอบติดตามและประเมินผลการบริหารงบประมาณ 2) รายงานการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการใช้งบประมาณ และด้านการวางแผนงบประมาณ แนวทาง คือ 1) การวางแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ 2) กำหนดทิศทางการดำเนินงานการใช้จ่ายงบประมาณ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2544). มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hurdles กับการจัดทำงบประมาณระบบใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม แอน ไซเท็กซ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พวงผกา พรมราช. (2559). การพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2562). การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา. สุทธิปริทัศน์.33(106),134-148.
รุ่ง แก้วแดง. (2546). โรงเรียนนิติบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
สมศักดิ์ กรอบสูงเนิน. (2552). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานงบประมาณ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ทวีพริ้นท์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2561). รายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคามประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561.มหาสารคาม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการบริหารโรงเรียน ในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การศึกษาระบบบริหารภาครัฐ ด้านทรัพยากรเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), p. 607-610.