ทักษะการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย Skills of School Administrators Effective to Early Childhood Academic Administration of Schools Under the Office of Primary Educational Service Area, Loei Province

Main Article Content

ภาวิณี พลเวียงคำ
บุญช่วย ศิริเกษ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย (2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย  (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย  (4) เพื่อศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนระดับปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย  ปีการศึกษา 2565 จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.948 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธี Stepwise ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  2) ระดับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย  โดยใช้การทดสอบค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยรวมมีค่าในระดับมากที่สุด เท่ากับ 0.906 ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .01 4) การวิเคราะห์ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา ที่นำมาวิเคราะห์ จำนวน 4 ด้าน พบว่า มี 3 ด้าน มีอำนาจพยากรณ์การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย  โดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านเทคนิควิธี ด้านการศึกษาและการสอน และด้านมนุษยสัมพันธ์ โดยตัวแปรทั้ง 3 ด้าน ร่วมกันมีประสิทธิภาพในการทำนายร้อยละ 84.30 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± 0.18728

Article Details

How to Cite
พลเวียงคำ ภ., & ศิริเกษ บ. (2023). ทักษะการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย: Skills of School Administrators Effective to Early Childhood Academic Administration of Schools Under the Office of Primary Educational Service Area, Loei Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 345–359. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/2956
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี).กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). เอกสารสาระการเรียนรู้ประกอบชุดวิชาหลักเทคนิคการบริการและการวางแผน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

บุญเชิด ชานิศาสตร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,10(2),134-146.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ทักษะการบริหารของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (2550). เอกสารประกอบชุดวิชาการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัย. นนทบุรี : ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York: Harper Collins.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Kimbrough, B., & Nunnery, Y. (1998). Education Administration: An Introduction. New York: Macmillan.