การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาภาษาไทย สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร A Construction of the Learning Thai Language Diagnostic Test in Strand 5: Literature and Literary Works for Mathayomsuksa 3 Students under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย วิชาภาษาไทย สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม 2) เพื่อหาคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัย วิชาภาษาไทย สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม 3) เพื่อหาเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบวินิจฉัย วิชาภาษาไทย สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม 4) เพื่อเขียนคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัย วิชาภาษาไทย สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำนวน 580 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบเพื่อสำรวจปัญหาการเรียนวรรณคดี และแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตรงตามเนื้อหา ค่าความยาก อำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
- แบบทดสอบวินิจฉัยการเรียนวรรณคดี วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อสอบจากการทดสอบครั้งที่ 1 ดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบ พบว่าข้อสอบทุกข้อวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ คือ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 ขึ้นไป ผลการวิเคราะห์ข้อสอบจากการทดสอบครั้งที่ 2 กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน จากแบบทดสอบทั้ง 3 ฉบับ ผลการวิเคราะห์ข้อสอบจากการทดสอบครั้งที่ 3 กับกลุ่มตัวอย่าง 380 คน เป็นแบบทดสอบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีคุณภาพของแบบทดสอบมีค่าความยากตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.77 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.70 และมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.83 – 0.92
- สรุปความบกพร่องของการเรียน วิชาภาษาไทย สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จุดบกพร่องในการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนตามมาตรฐานตัวชี้วัด คือวิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน สรุปเนื้อหาวรรณคดี วรรณกรรม และวรรณกรรมท้องถิ่นในระดับที่ยากยิ่งขึ้น สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนด
- คะแนนเกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบทดสอบวินิจฉัย วิชาภาษาไทย สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลปรากฏว่า แบบทดสอบวินิจฉัย วิชาภาษาไทย สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีช่วงคะแนนตั้งแต่ T15 ถึง T80
- คู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัย วิชาภาษาไทย สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบของคู่มือการใช้แบบทดสอบซึ่งมีองค์ประกอบคือ ความหมายของแบบทดสอบวินิจฉัยการเรียนวรรณคดี จุดมุ่งหมายของการพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยการเรียนวรรณคดี โครงสร้างของแบบแบบทดสอบวินิจฉัยการเรียนวรรณคดี คุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยการเรียนวรรณคดี วิธีการดำเนินการทดสอบ และการตรวจให้คะแนน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช. 2551: แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จิตต์นิภา ศรีไสย์. (2555). วรรณคดีและวรรณกรรม ม.3. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพัฒนาคุณภาพ วิชาการ (พว.) จำกัด.
ชัตสุนีย์ สุนธุสิงห์. (2532). วรรณคดีทัศนา. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เถกิง พันธุ์เถกิงอมร. (2528). หลักการวิจารณ์วรรณคดี. นครศรีธรรมราช: โครงการตำราและเอกสารวิชาการ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2523). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์กรุงเทพการพิมพ์.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5 .กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.
ไพศาล วรคำ. (2558). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ลมโชย ด่านขุนทด. (2544). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม อำเภอสมเด็จจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.
วิภา กงกะนัน. (2533). วรรณคดีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สาคร สียางนอก. (2556). การพัฒนาแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.
สิริยา เวียงนนท์. (2551). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การบริหารการศึกษา).กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
อานนท์ หล้าหนัก. (2552). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงชั้นประถมศึกษาปีที่2. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.