อิทธิพลของการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธศาสนานำไปสู่การเกิดศิลปะวัฒนธรรมทางนาฏศิลป์ไทย The influence of the Buddhist way of life led to the emergence of Thai dancing arts and culture

Main Article Content

ศรัณยพัชร์ ศรีเพ็ญ

บทคัดย่อ

          พระพุทธศาสนาถือเป็นศาสนาที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวไทยทุกภูมิภาคมาเป็นเวลาหลายศตวรรษส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนคนไทยตั้งแต่อดีต การดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันมุ่งเน้นการแสวงหาความสุขของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความสุขทางกายและความสุขทางใจ ทั้งนี้การดำเนินชีวิตชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาส่งผลต่อการเกิดนาฏศิลป์ไทยที่มุ่งเน้นความสุขทางกายและทางจิตใจในลักษณะต่างๆ ขึ้นอยู่กับบริบทพื้นที่ต่างๆของภูมิภาคของประเทศไทยนำไปสู่การเกิดขึ้นของศิลปะวัฒนธรรมทางนาฏศิลป์ที่ผู้เขียนจะนำเสนอประกอบด้วย ภาคเหนือ เป็นการการฟ้อนรำเทียนเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามทัศนะของชาวล้านนาไทย เป็นต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการการแสดงหมอลำกลอน ซึ่งในกลอนลำนั้นจะพบเห็นบทกลอนลำที่กล่าวการบูชาสิ่งอยู่เหนือมนุษย์อยู่ในรูปของการไหว้วอนขอพรจากสิ่งศักดิ์ทั้งที่เป็นของพุทธศาสนา อาทิ พระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ภาคกลาง เป็นลิเกชาดกซึ่งเป็นศิลปะการแสดงดั้งเดิม แฝงสาระคำสอนทางศาสนา และภาคใต้ เป็นมโนราห์ ซึ่งเป็นทั้งแสดงเป็นเรื่องและแสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม ในกรณีศึกษาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ นำโดยพระครูอดุลวีราคม เจ้าอาวาส วัดชลธาราวาส ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

Article Details

How to Cite
ศรีเพ็ญ ศ. (2023). อิทธิพลของการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธศาสนานำไปสู่การเกิดศิลปะวัฒนธรรมทางนาฏศิลป์ไทย: The influence of the Buddhist way of life led to the emergence of Thai dancing arts and culture. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 743–757. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3132
บท
บทความวิชาการ

References

กชวรรณ ปักครึก. (2561). ลิเกชาดกศิลปะการแสดงดั้งเดิม แฝงสาระคำสอนทางศาสนา.สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.pptvhd36.com/news/74257.

นาฏศิลป์ไทย.(2556). นาฏศิลป์ไทยสี่ภาค. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2566 จาก http://lovenattasinthai.blogspot.com/p/blog-page_44.html.

ป.ปยุตโต. (2527). พุทธศาสนากับชีวิตและสังคม. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.watnyanaves.net/en/book-full-text/315.

พระมหาพิพัฒพงศ์ ฐิตธมฺโม. (2563). หลักพุทธธรรมกับการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ,7(2),325-334.

ศราวุธ จันทรขำ และ อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์.(2563). นาฏกรรมกับพระพุทธศาสนาในล้านนา.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,7(2),16-32.

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์. (2566). มโนราห์ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (วัดชลธาราวาส). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566 จาก https://narathiwat.m-culture.go.th/th/db_100_narathiwat_11/205083?embed=true.

หมอลำมลิวัลย์. (2556). กลอนลำไหว้ครูทางสั้น+เดินดง: หมอลำมลิวัลย์. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566 จาก https://th-th.facebook.com/klonlum/posts/470201223064078/.

sanook.com. (2560). ศีล 5 มีอะไรบ้าง ทำไมจึงต้องรักษาศีล 5 ประโยชน์ของการรักษาศีล. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566 จาก https://www.sanook.com/horoscope/98197/.