การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ Strategy Development for Educational Resource Management of Secondary Schools Under The secondary Educational Service Area Office Kalasin
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ และ 2) เสนอยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบและตัวชี้วัด และกลุ่มตัวอย่าง 322 คน เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 ระยะที่ 2 เสนอยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 17 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิร่วมการประชาพิจารณ์ จำนวน 34 คน
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นโดยรวมมีค่า PNI Modified = 0.30 โดยด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาด้านการวางแผน รองลงมาได้แก่ การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาด้านการประเมินผล และการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาด้านการดำเนินงานตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบทรัพยากรทางการศึกษา ประกอบด้วย 1) บุคคล 2) งบประมาณ 3) วัสดุอุปกรณ์ และ 4) ที่ดินอาคาร สิ่งก่อสร้างและแหล่งเรียนรู้
- ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก 9 ยุทธศาสตร์รอง และมี 43 ยุทธศาสตร์ระดับแนวทางปฏิบัติ และมีผลการประเมินยุทธศาสตร์ด้านความเหมาะสมและด้านความสอดคล้องมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติชัย อุดมศักดิ์ศรี. (2561). การพัฒนายุทธศาสตร์เมืองสร้างสรรค์ด้านข้าวเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนชาวนาจังหวัดชัยนาท. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย,10(2),211-224.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครังที 3. นนทบุรี: บุ๊คพอยท์ .
ดนัย เทียนพุฒ. (2543). วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ STRATEGIC PROFILE. กรุงเทพฯ : ก.พลพิมพ์.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. นนทบุรี : ตีรณสาร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรีชา คัมภีรปกรณ์ และคณะ. (2556). การบริหารทรัพยากรการศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). การบริหารงานวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม.
สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2552). ทรัพยากรทางการศึกษา สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). ทรัพยากรเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาในระดับจังหวัดเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.