แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา The Guidelines for Development of Servant Leadership of School Administrators Under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Ratchasima
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 147 คน และ ครู 194 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .93 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษา คือ สถานศึกษาที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ 2 แห่ง และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และแบบประเมินแนวทางการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่า เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็น เรียงลำดับดังนี้ ความนอบน้อม รองลงมา คือ การให้ บริการ การตระหนักรู้ การเสริมสร้างพลังอำนาจ และ การอุทิศตนเพื่อพัฒนาคน ตามลำดับ
- 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผล และมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมของแนวทางอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 –2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
จิรวรรณ เล่งพานิชย์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จิรัฐติกาล รจพจน์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
นันท์มนัส รอดทัศนา. (2554). การจัดทำคู่มือจัดกิจกรรมพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปองภพ ภูจอมจิตร. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์. (2554). เทคนิคการเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งใหม่และเลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อํานวยการและรองผู้อํานวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญหรือผู้อำนวยการและรองผู้อํานวยการสำนักงานกศน.จังหวัด/กรงเทพมหานครเชี่ยวชาญ สำหรับผู้ดำเนินการพัฒนาและผู้เข้ารับการพัฒนา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง.
สมชาย เทพแสง. (2549). ผู้นำยุคใหม่ หัวใจของการปฏิรูป พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: อัลฟ่ามิเลนเนียม.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ทวีพริ้นท์ จำกัด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (2561). คู่มือปฏิบัติงานกลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. (2564). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2565. นครราชสีมา : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา.
สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ. (2562). คู่มือการพัฒนาตนเองผ่านระบบออนไลน์ และการประชุมปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วยสู่การเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Dennis, R. S. and Bocarnea, M. (2005). Development of the servant leadership assessment. Leadership & Organizational Development Journal. 26(8).
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), p. 607-610.
Laub, J. (2004). Organizational Leadership Assessment (OLA) Model. Defining servant leadership and the healthy organization.