แนวทางการพัฒนากิจการลูกเสือสามัญของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 The Guidelines for Developing of Ordinary Scout Activities of School Under The MahaSarakham Primary Education Service Area Office 2

Main Article Content

คุณากร มะหัด
กฤษกนก ดวงชาทม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนากิจการลูกเสือสามัญของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 2) เศึกษาแนวทางการพัฒนากิจการลูกเสือสามัญของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนากิจการลูกเสือสามัญ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 309 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32 - 0.87 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนากิจการลูกเสือสามัญของโรงเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษา คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อศึกษาและประเมินแนวทางการพัฒนากิจการลูกเสือสามัญของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์มีลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และแบบประเมินแนวทางเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย พบว่า                


  1. สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้บังคับบัญชาลูกเสือ รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารงาน ด้านจุดหมายหรืออุดมการณ์ ด้านลูกเสือ และด้านกิจกรรมตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านลูกเสือ รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ได้แก่ ด้านการบริหารงาน ด้านกิจกรรม ด้านจุดหมายหรืออุดมการณ์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และความต้องการจำเป็นโดยรวมมีค่า PNI Modified = 0.22 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านกิจกรรม 2) ด้านลูกเสือ 3) ด้านจุดหมายหรืออุดมการณ์ 4) ด้านการบริหารงาน และ 5) ด้านผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

  2. 2. แนวทางการพัฒนากิจการลูกเสือสามัญของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 พบว่า 1) ด้านลูกเสือ มี 7 แนวทาง 2) ด้านผู้บังคับบัญชาลูกเสือ มี 4 แนวทาง 3) ด้านจุดหมายหรืออุดมการณ์ มี 3 แนวทาง 4) ด้านกิจกรรม มี 8 แนวทาง และ 5) ด้านการบริหารงาน มี 4 แนวทางโดยมีสรุปผลการประเมินทั้งความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
มะหัด ค., & ดวงชาทม ก. (2023). แนวทางการพัฒนากิจการลูกเสือสามัญของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2: The Guidelines for Developing of Ordinary Scout Activities of School Under The MahaSarakham Primary Education Service Area Office 2. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 418–434. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3253
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (25560). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องนโยบายและมาตรฐานการพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

คณะลูกเสือแห่งชาติ. (2551). พระราชบัญญัติลูกเสือ พุทธศักราช 2551. สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พฤฒฑิพล พฤฒฑิกุล. (2559). แนวทางพัฒนาการบริหารกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (229 - 241). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

รวิ เต็มวนาวรรณ. (2563). การบริหารงานลูกเสือกลุ่มโรงเรียนทับใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 2. การศึกษาคนควาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สายฟ้า หาสีสุข และสุธรรม ธรรมทัศนานนท์ (2565). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดเข้าใจเข้าถึงพัฒนาของโรงเรียนบ้านเมืองแก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน,5(2),1-10.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (2563). การบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี. มหาสารคาม : กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การศึกษาความเป็นพลเมืองของผู้เรียน ในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ. (2555). คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้ทั่วไป. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ. (2563). ประวัติลูกเสือไทย. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.scoutthailand.org/pages/thaiscout-story.php.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities.Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.