แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 9 The Guideline for Development Educational Institutions are Learning Organizations in The Network Group to Promote the Efficiency of Special Education Center Network 9
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 9 และ 2) ศึกษาและประเมินแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 9 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน รวมจำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาและประเมินแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษา คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และแบบประเมินแนวทางการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการศึกษาความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ 2) ด้านบุคคลรอบรู้ 3) ด้านการเรียนรู้ของทีม 4) ด้านรูปแบบทางความคิด และ 5) ด้านวิสัยทัศน์ร่วม
- 2. ผลการศึกษาและประเมินแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ได้แนวทาง คือ วิธีการดำเนินการในการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรมพัฒนา มีรายละเอียดประกอบด้วย 1) หลักการ2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ 4) วิธีการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผล โดยในเนื้อหาสาระประกอบด้วย 5 Module ได้แก่ Module 1 การคิดอย่างเป็นระบบ Module 2 บุคคลรอบรู้ Module 3 การเรียนรู้ของทีม Module 4 รูปแบบทางความคิด Module 5 วิสัยทัศน์ร่วม และผลการประเมินแนวทางการพัฒนาโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เชษฐา ค้าคล่อง. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ยุรพร ศุทธรัตน์. (2552). องค์การเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2550). ผู้บริหารองค์กรอัจฉริยะฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.).
วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2553). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2559). แผนพัฒนาการจัดการศึกษาสงเคราะห์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4), 196-197.
สุวิทย์ ยอดสละ. (2556). การพัฒนาภาวะผู้นําเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Anne, M. Bowker. (2008). The school-as-learning-community within new public management: The role of organizational structure. In Paper presented at ‘The school-a learning organization?’ conference (pp. 1-21). Norway: Lillehammer.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Cummings, T.G. and Worley, C.G. (2009). Organization Development & Change. 9th Edition, South Western Cengage Learning, Mason.
Ellyn, R.L. (2012). Learning organization learning. International Journal of Business and Social Science, 3(6), 217-221.
Garvin, D.A. (1993). Building a Learning Organization. Harward Business Review, July-. August : 778-779.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), p. 607-610.
Marco, K., & Louise, S. (2016). What makes a school as learning organization?. Education Working Paper, 28(2), 137.
Senge, P. M. (1990). The fifth discipline :The art and practice of the learning organization. London : Century Press.