สมรรถนะหลักของข้าราชการ ตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน สำนักงานประกันสังคม Core Competencies of Labour Specialist of Social Security Office
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะหลักของข้าราชการ ตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน สำนักงานประกันสังคม และเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะหลักของข้าราชการ ตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน สำนักงานประกันสังคม จำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน สำนักงานประกันสังคม จำนวน 290 คน วิเคราะห์มูลโดยใช้สถิติพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์ค่าที (t-test), F test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
สมรรถนะของข้าราชการ ตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน สำนักงานประกันสังคม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.30) เมื่อนำมาพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน สำนักงานประกันสังคม มีสมรรถนะหลักสูงที่สุดในด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.61) รองลงมาคือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านการบริการที่ดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
= 4.48) ด้านการทำงานเป็นทีม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
= 4.21) และด้านการสั่งสมความชำนาญในงานอาชีพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
= 4.06) ตามลำดับ เมื่อทำการเปรียบเทียบสมรรถนะหลักของข้าราชการ ตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน สำนักงานประกันสังคม จำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน สำนักงานประกันสังคมที่มีเพศต่างกัน มีสมรรถนะหลักไม่แตกต่างกัน ขณะที่ข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน สำนักงานประกันสังคม ที่มีอายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง และระยะเวลาการปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างกัน มีสมรรถนะหลักแตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานประกันสังคม.(2565). แผนปฎิบัติการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ประจำปี พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2566 จาก https://hrm.mol.go.th/.
กุสุมา แย้มเกตุ.(2561).รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามตำแหน่งงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ.ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน : คู่มือสมรรถนะหลัก (เผยแพร่ พ.ศ. 2553). คำอธิบายและตัวอย่างพฤติกรรมบ่งชี้. นนทบุรี : บริษัท ประชุมช่าง จำกัด.
ทิวาพร พรหมจอม.(2561).ประสิทธิผลการปฏิบัติตามสมรรถนะหลักของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,15(71),97-106.
ธีระพล เจริญสุข. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
โญธิกา ผลาเลิศ และคณะ. (2561). การประเมินสมรรถนะหลักของบุคลากรภาครัฐที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล,5(1),61-69.
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. (2555). พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : บางกอกล๊อก.
สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2565). กองทุนประกันสังคม (Social Security Fund). สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2566 จาก https://www.hrm.chula.ac.th.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการพัฒนาข้าราชการตามสรรถนะหลัก.นนทบุรี:บริษัทประชุมช่าง จำกัด.
Gaye Ozcelik, G. and Murat Ferman. (2006). Competency Approach to Human Resource Management Outcome and Contributions in a Turkish Cultural Context. Human Resource Development. Review. 5 (1) : 72-91.