แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการเรียนรู้ในยุคความปกติใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 1 The Guideline for Development Learning Administration in The New Normal Era of Schools Under Maha sarakham Primary Educational Service Area Office 1

Main Article Content

ณัฐวุฒิ วาโยพัด
กฤษกนก ดวงชาทม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึ่งประสงค์และความต้องการจำเป็นการบริหารจัดการการเรียนรู้ในยุคความปกติใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการเรียนรู้ในยุคความปกติใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึ่งประสงค์และความต้องการจำเป็นการบริหารจัดการการเรียนรู้ในยุคความปกติใหม่ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.31 - 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการเรียนรู้ในยุคความปกติใหม่ของสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษา คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และแบบประเมินแนวทางการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการศึกษาความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านการจัดเรียนการสอน 2) ด้านการพัฒนาครู 3) ด้านการประเมินผลในการศึกษา 4) ด้านการบริหารทรัพยากรใหม่ และ 5) ด้านการบริหารหลักสูตร

  2. 2. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการเรียนรู้ในยุคความปกติใหม่ของสถานศึกษา คือ วิธีการดำเนินการในการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีรายละเอียดประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ 4) วิธีการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผล เนื้อหาสาระ ประกอบด้วย 5 โมดูล ได้แก่ โมดูล 1 ด้านการจัดเรียนการสอน โมดูล 2 ด้านการพัฒนาครู โมดูล 3 ด้านการประเมินผลในการศึกษา โมดูล 4 ด้านการบริหารทรัพยากรใหม่ โมดูล 5 ด้านด้านการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งผลการประเมินแนวทางโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
วาโยพัด ณ., & ดวงชาทม ก. (2023). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการเรียนรู้ในยุคความปกติใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 1: The Guideline for Development Learning Administration in The New Normal Era of Schools Under Maha sarakham Primary Educational Service Area Office 1. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 531–548. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3269
บท
บทความวิจัย

References

ชัยชนะ มิตรพันธ์.(2563). ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2565 จาก https://www.etda.or.th/content/new-normal-after-covid-19.html.

เชษฐา ค้าคล่อง. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ. (2563). ยุทธศาสตร์รับมือโควิด-19 ในไทย. กรุงเทพฯ : สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

เทื้อน ทองแก้ว.(2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถึใหม่ (Design- Based New Normal): ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิต – 19. วารสารศิลปการจัดการ, 4 (2), 783-795.

วัสสิกา รุมาค. (2564). การบริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6),16-30.

วิชัย วงศ์ใหญ่.(2563). New normal ทางการเรียนรู้. กรุงเทพมฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒิ.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การจัดการเรียนรู้ใน New normal เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒิ.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4) , 196-197.

สุวิทย์ ยอดสละ. (2556). การพัฒนาภาวะผู้นําเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), p. 607-610.