แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 Leadership Style of School Administrators Effective to Hing Performance Organization of Schools Under Loei Primary Educational Service Area Office 1

Main Article Content

จักรพงศ์ มณีรัตน์
บุญช่วย ศิริเกษ

บทคัดย่อ

          โรงเรียนซึ่งเป็นองค์การในด้านการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง เนื่องจากโลกในศตวรรษที่ 21 เป็นโลกที่ไม่หยุดนิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ผู้บริหารจะต้องใช้แบบภาวะผู้นำหลายแบบตามแต่ละสถานการณ์ เพื่อสามารถปฏิบัติภารกิจให้บรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตามแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 4) เพื่อศึกษาแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 5) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 299 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปฏิบัติตามแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 มีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับสูง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .01 4) แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา แบบมุ่งความสำเร็จ แบบให้มีส่วนร่วม และแบบสนับสนุน มีอำนาจพยากรณ์การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) แบบมุ่งความสำเร็จ แบบให้มีส่วนร่วม และแบบสนับสนุน ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 58.20 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐานได้ = 0.273(x3) + 0.269(x4) + 0.225(x1)

Article Details

How to Cite
มณีรัตน์ จ., & ศิริเกษ บ. (2023). แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1: Leadership Style of School Administrators Effective to Hing Performance Organization of Schools Under Loei Primary Educational Service Area Office 1. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 549–568. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3275
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail/php?News.

จักรี แก้วน้ำคำ. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบประสานพลังที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21.

บัณฑิตา สิทธิพงศากุล. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุสตามัน กามะ. (2564). ภาวะผู้นำตามทฤษฎีวิถีทาง-เป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดอาชีวศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ปารณีย์ ณ นคร. (2564). แบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

เพ็ญศิริ ฤทธิกรณ์. (2559). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2560). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราพร เกษสังข์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุชาติ ทองมา. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุภาพร โสภิณ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมพงษ์ เชือกพรม. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). ภาวะผู้นำ. ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหาร

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2563). การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน Work Manual.สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2563, จาก https://www.opdc.go.th/content/Nzc.

สุดารัตน์ นารอยี. (2564). ภาวะผู้นำตามวิถีทางและเป้าหมายของผู้บริหารสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ 12, 958-975.

Al Khajeh, Ebrahim Hasan. (2018). Impact of Leadership Styles on Organizational Performance. Journal of Human Resources Management Research, Vol. 2018, abstract.

Bass, B.M. and Avolio, B.J. (1990). The four Is Transformational Leadership. JournalOf European Industrial Training, 15 (2).

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Buytendijk, F. (2006). The five keys to building a high performance organization. Business Performance Management Magazine, 4(1), 24-47.

David, J.C. (1998). Organizational Behavior: The Management of Individual and Organization Performance. 2nd ed. USA: Allyn and Bacon: Prentice-Hall.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.

Lipham, James M. & Hoch, James A. (1974). The Principalship: Foundations and Functions. New York: Harper & Row Publisher.

Likert, R.. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). NewYork: Wiley & Son.

Waal, A. A. D. (2007). (2010). The Characteristics of a High PerformanceOrganization. Retrieved July 31, 2022, from http://www.hpocenter.com.