การบริหารโดยยึดหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 Educational Administration Based on the Four Principles of Educational Institution Administrators Affects the Teaching and Learning Activities of Teachers in the 21st Century of Schools Under the Loei Primary Educational Service Area Office 2

Main Article Content

พงศ์พิสุทธิ์ เทวะดา
บุญช่วย ศิริเกษ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารโดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับการจัดการเรียนรู้ของครูศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารการศึกษากับการจัดการเรียนรู้ของครูศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 4) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 318 คน ซึ่งได้จากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) จากตารางของเคร็จซี่และมอร์แกน (Kerjcie and Morgan) ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 90 ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional stratified random sampling) ตามเขตพื้นที่อำเภอของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การวิเคราะห์สถิติสหสัมพันธ์ของ Pearson (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. การบริหารโดยยึดหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

  2. 2. การจัดการเรียนรู้ของครูศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

  3. 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยยึดหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้ของครูศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก เท่ากับ 0.629 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  4. 4. การบริหารโดยยึดหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 พบว่า ทุกปัจจัยเป็นตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การจัดการเรียนรู้ของครูศตวรรษที่ 21 ได้้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าประสิทธิภาพในการทำนาย เท่ากับ 0.405

Article Details

How to Cite
เทวะดา พ., & ศิริเกษ บ. (2023). การบริหารโดยยึดหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2: Educational Administration Based on the Four Principles of Educational Institution Administrators Affects the Teaching and Learning Activities of Teachers in the 21st Century of Schools Under the Loei Primary Educational Service Area Office 2. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 619–636. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3302
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2546).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2556). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสําหรับทุกคนในอนาคต. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

กิตติมา ปรีดีดิลก.(2542).การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : อักษรพิพัฒน์.

คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.(2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

ชัชวาลย์ เจริญบุญ. (2554). รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนในจังหวัดมหาสารคาม. ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชาตรี แนวจำปา. (2552). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรนักป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชุติพงศ์ สุกป่าน. (2551). การบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาข้ันพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทองหล่อ เดชไทย. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธัญชนก แสงใส. (2558). แนวทางการบริหารจัดกาารแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาล 3 ศรีทรายมูล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงราย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สกลธ์ ขุนสนิท.(2552). รูปแบบการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลตามนโยบายการกระจายอํานาจในจังหวัดชายแดนด้านตะวันออก. วิทยานพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

สนอง วรอุไร. (2550). ทำชีวิตให้ได้ดีและมีสุข. พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อัมรินทร์.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอํานาจกรบริหารและ. การจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 -2579.กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สุพันธ์ แสนสี. (2558). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อสงเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนกีฬา จังหวัดขอนแก่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุวิชา ศรีมงคล. (2557). การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ด้วยสถานการณ์จำลอง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อำไพ นงค์เยาว์. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(1): 132 - 143.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), p. 607-610.