การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย Implimentation of Good Governance of Administrators in Schools Administrators Under Loei Provincial Office of the Non-formal and Informal Education
Main Article Content
บทคัดย่อ
การนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลยพบว่า ยังมิได้กำหนดแผนการดำเนินการและโครงการ เพื่อรองรับการบริหารงาน และการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างจริงจัง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของครูต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย ตามตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์ในการทำงาน3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการใช้นำหลักธรรมาภิบาลในการบริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร และครูสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกะบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ใน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสถิติขั้นพื้นฐาน ดังนี้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) การวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้บริหารในสถานศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับความคิดเห็นต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารสถานศึกษาสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ยกเว้นหลักความเสมอภาค และหลักคุณธรรมและจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 กรุงเทพฯ :บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การจัดระดับการกำกับดูแลองค์กรภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการ พัฒนาระบบราชการ.
กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การศึกษาตามอัธยาศัย แนวความคิดและประสบการณ์. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.).
สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2549). กรุงเทพฯ.
วราพร ลูกไทย. (2560). ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
นิรัญ สุดประเสริฐ. (2564). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(5),47-60.
Clarke,Vicki Clinell Burge. (2001). Unit Search of Good Governance Decentralization and Democracy in Ghana. Illinois: Northern Illinois University.
Kimmet, P. (2005). The Politics of Good Governance in the Asean 4. Master Degree. Queensland: Griffith University.
MacMillan, L. K. (2007). A misguided curriculum: Decentralized education policy in Ghana’s primary school system. M.A. Saint Mary’s University (Canada).