ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 Relationship Between Participation of Teachers and Effectiveness of Schools Under Loei Primary Education Service Area Office 1

Main Article Content

พรภิรมย์ แคนติ
บุญช่วย ศิริเกษ

บทคัดย่อ

          การขาดประสิทธิภาพในการบริหารการศึกษา คือ การรวมศูนย์อํานาจในส่วนกลางมากเกินไป ขาดการมีส่วนร่วม การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เลย เขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1  กลุ่มตัวอย่างคือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ปีการศึกษา 2565  รวมทั้งสิ้น จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.956 ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ตามลำดับ

  2. ประสิทธิผลของโรงเรียน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการปรับตัว รองลงมา ได้แก่ ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ด้านการมีจิตมุ่งต่อองค์การ  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการบูรณาการ ตามลำดับ

  3. การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกประสิทธิผลของโรงเรียนในระดับสูง (r = .753) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
แคนติ พ., & ศิริเกษ บ. (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1: Relationship Between Participation of Teachers and Effectiveness of Schools Under Loei Primary Education Service Area Office 1. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 712–725. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3407
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ บุราณสาร (2560).การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ,สาขาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.

จุฑามาส พันสวรรค์. (2562). การพัฒนารูปแบบการมสี่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ในการ บริหารจัดการพัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครเชียงใหม่.หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เฉลิมพล จันดา.(2560). การพัฒนาแนวทางการบริหรแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 1.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,7(6),229- 243.

ดวงเดือน วินิจฉัย.(2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สาขาวิชาการบริหาร การศึกษาคณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยบูรพา.

เดวิส และนวสตรอมิ.แนวคิด ทฤษฎี ตัวแบบ และแนวทางการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ:การจัดกลุ่มทางความคิดและสาระสำคัญจากแนวคิดกระแสหลักช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 201.วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์,7(2),118 -151.

ธนภรณ์ พรรณราย.(2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา.ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.

ธัญญาลักษณ์ ใจเที่ยง.(2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเขตพระนครกรุงเทพมหานคร ต่อการพัฒนาทักษะเยาวชนไทย 4.0. ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน,ลิขสิทธิ์บัณฑิตพัฒนศิลป์

ยงค์ วิโรจน์เศษวงศ์ (2562).การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนด้วยการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. สาขาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ราชภัฎเชียงใหม่.

วิบูลอร นิลพิบูลย์. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับ ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมบัติ เอกเชี่ยวชาญ (2560). บทบาทการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนคุณภาพของชุมชนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านเขว้า1สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1.หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง

สุภัททา อินทรศักดิ์.(2561). การนำเสนอรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ.งานนิพนธ์การศึกษา,สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

อภิรัตน์ ช่างเกวียน.(2564). บทบาทผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

อมรภัค ปิ่นกำลัง.(2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

อำภา สมันพืช (2561). การมีส่วนร่วมในการบริหารกับความยึดมั่นผูกพันกับองค์การของครูในสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม

Bandura. (1977). A Social Learning Theory Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall.

Bert Nanus. (1992). Visionavy Leadership. San Francisco: Jossey-Bass Inc.

Brown, M. E., Treviño, L. K., & Harrison, D. (2005). Ethical Leadership: A Social Learning Perspective for Construct Development and Testing. Organizational Behavior and Human Decision Processes.

Gary Yukl (2010). Leadership in Organization. 7th ed. New Jersey: Prentice Hall.

Grace, B. (2006). Ethical Leadership: In Pursuit of the Common Good. Seattle, WA: Center For Ethical Leadership.

Henry, K. (2009). Leading with your soul: The comprehensive ethical leadership model™ shows you how to create an ethical workplace that will lead to sustainability for your company. In Proceedings of the ethics is a topic at IMA’s annual conference: Strategic Finance. (pp. 41-51). Chicago: North Park University.

Hoy, W. K. and Miskel, C. G. (1991). Educational Administration: Theory, Research, and Practice.4 th Edition. New York: McGraw-Hill.

Jaran Olsen & Dagfinn Aarhus Braseth. (2015). Morality, Meditation, and Wisdom: An Exploration of the Buddhist Foundation of Mindfulness-Based Stress Reduction. The University of Bergen

Kanokorn, S., Wallapha, A., & Ngang, T. K. (2013). Indicators of ethical leadership for school principals in Thailand. Procedia-Social and Behavioral Sciences.

Kohlberg, L. (1976). Moral Stages and Moralization: The Cognitive-Development Approach. In T. Lickona (Ed.), Moral Development and Behavior: Theory and Research and Social Issues (pp. 31-53). New York, NY: Holt, Rienhart, and Winston.

Mowbray, D. (2009). Code of conduct for ethical leadership a discussion document. Retrieved October 20, 2022 from www.derekmowbray.co.uk.

National Centre for Ethics in Health Care. (2005). Ethical Leadership Toolkit A manual for the Ethical Leadership Coordinator. Retrieved September 15, 2022, form http://www.ethics.va.gov/integratedethics/ELC.asp

Northouse, P.G. (2013). Leadership Theory and Practice. (6th ed.). California: SAGE Publications, Inc,

Sergiovanni, T. J. (1992). Moral leadership Getting to the heart of school. improvement. San Francisco: Jossey-Bass publisher.

Trevino, L.K., Hartman, L.P., and Brown, M. (2000). Moral Person and Moral Manager: How Executive Develop a Reputation for Ethical Leadership. California Management Review, 42(4).

Wong.P.T.P.; & Davey, M.A. (2007). Belt practice in servant leadership. Paperpresented at the servant leadership Roundtable at Regent University, Virginia Beach, VA, on July 2007. Retrieved October 19, 2022 from http:// www.regent.edu.