การพัฒนาความสามารถด้านความจำเพื่อใช้งานของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 The Development of Working Memory Abilities of Early Childhood Children with Learning Activities According to The Principle of Iddhipada

Main Article Content

พงศกร อนุพันธ์
พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ
พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้งานตามหลักอิทธิบาท 4 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้งานก่อนและหลังใช้กิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลตำบลเวียงเทิง จังหวัดเชียงราย รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษา อยู่ในโรงเรียนเทศบาลตำบลเวียงเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 25 คน โดยได้กลุ่มเป้าหมายมาแบบเลือกเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 และแบบประเมินความสามารถด้านความจำสำหรับเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้งานตามหลักอิทธิบาท 4 มีคะแนนสูงขึ้นกว่าก่อนทำกิจกรรม (หลัง = 8.32, ก่อน = 3.76) 2) หลังการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้งาน ตามหลักอิทธิบาท 4 แตกต่างจากก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
อนุพันธ์ พ., อภิปญฺโญ พ. ., & วรมงฺคโล พ. (2023). การพัฒนาความสามารถด้านความจำเพื่อใช้งานของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4: The Development of Working Memory Abilities of Early Childhood Children with Learning Activities According to The Principle of Iddhipada. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 670–680. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3415
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี.(2557). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ, กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ธีรนาฏ เบ้าคำ.(2557). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แบบการสอนมโนทัศน์เสริมด้วยเกมการศึกษาที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

นิวัฒน์ สาระขันธ .(2564). สอนอย่างไรให้นักเรียนเกิดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์.หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

มารีย์ ไชยประสพ.(2558). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมเกม การศึกษา โรงเรียนโป่งน้าร้อนวิทยา.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

Carraher,T . & Schliemann, A. (1985). Computation Routines Prescribed by Schools: Help or Hindrance?. journal for research in Mathematics Education, 16(1), pp. 37-44