บทบาทผู้สูงอายุในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด Role of the elderly in the development of local wisdom According to the Sufficiency Economy Philosophy, ThaMuang Sub-District Selaphum District, Roi Et Province

Main Article Content

จิราพร บาริศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทผู้สูงอายุในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 12 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลสรุปและอภิปรายผลข้อมูลเชิงพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผู้สูงอายุมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือการนำความรู้ถ่ายทอดสู่ชุมชนมีวิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถทำให้ผู้รับการถ่ายทอดนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้จริง โดยใช้วิธีการถ่ายทอดโดยการปฏิบัติจริง เพราะวิธีการปฏิบัติจริงจะทำให้ผู้รับการถ่ายทอดเกิดความเข้าใจในแต่ละขั้นได้ชัดเจนมากขึ้น

  2. ผู้ถ่ายทอดไม่มีความรู้เพียงพอที่จะทำการถ่ายทอดได้ อีกทั้งลูกหลานหรือคนรุ่นหลังไม่มีความสนใจในการจักสาน ขาดผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาต่อหากยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกต้นหวายและไม้ไผ่บ้าน และงบประมาณไม่มี

  3. ผู้สูงอายุในชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองมาใช้ในการสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว เช่น การทอผ้า การจักสาน ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นอาชีพที่เหมาะสมกับสุขภาพร่างกายและวัยของตนเอง

Article Details

How to Cite
บาริศรี จ. (2023). บทบาทผู้สูงอายุในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด: Role of the elderly in the development of local wisdom According to the Sufficiency Economy Philosophy, ThaMuang Sub-District Selaphum District, Roi Et Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(3), 31–44. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3617
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา วงษาสันต์. (2552).วิถีไทย.กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

จารุณี คงกุล และคณะ. (2565). แนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมการเย็บตับจากกรณีศึกษา บ้านควนล้อน ตำบลนาบินหลา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง.วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา, 7(1), 113-126.

จินต์ประวีร์ เจริญฉิม และสิริชัย ดีเลิศ. (2563). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุสู่ชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน.วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 33(2), 152-167.

จิราพร มะโนวัง และวาสนา เสภา.(2563).การพัฒนาภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมพื้นบ้านของผู้สูงอายุเพื่อเข้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย.วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์),13(1), 128-140.

โชติกา สิงหาเทพ, ธนิกานต์ ศรีจันทร์ และเสาวนีย์ จันทสังข์.(2561). บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ.กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ธีรพัฒน์วงศ์คุ้มสิน และเฉลิมขวัญสิงห์ทวี.(2564). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้สูงอายุ คุณค่าและความท้าทายในสังคมเมืองยุคสมัยใหม่: กรณีศึกษาตำบลบางรักน้อย จังหวัดนนทบุรี. วาสารศิลปะศาสตร์, 21(1), 363-395.

นันธวัช นุนารถ.(2560). แนวทางการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องผลิตภัณฑ์จากผ้าใยกล้วย ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนบนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เพชรรัตน์ ศิริสุวรรณ.(2561). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ตำบลสงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด.ราชาวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์, 8(1), 45-58.

ภานุ พิมพ์บูรณ์ และสุรพงษ์ แสงเรณู.(2564).การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นฐาน บ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารมหาจุฬาคชสาร, 12(2), 163-172.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2554).รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน.(2560). สถานการณ์คัดกรองโรคเบาหวาน.ฐานข้อมูล HOSxP โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2555). รายงานสถิติรายปี2555 ประเทศไทย.กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อารี พุ่มประไวทย์และจรรยา เสียงเสนาะ.(2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 160-175.

อุทุมพร วงษ์ศิลป์, ดิชพงศ์ พงศ์ภัทรชัย และถาวร สกุลพาณิชย์.(2554). แนวทางการวิเคราะห์ต้นทุนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว : กรณีศึกษาโรงพยาบาลลำปาง.นนทบุรี : สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย(สวปก.) เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.).