แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 The Development Guidelines for Teacher in Learning Management for 21st Century for Schools Under The Maha Sarakham Primary Education Service Area Office 1

Main Article Content

สุทธิพงษ์ มันฑะ
ปองภพ ภูจอมจิตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู รวมจำนวน 297 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .84 ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สถานศึกษาดูงานที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัย พบว่า  


          1) สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็น เรียงลำดับค่าที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุดไปถึงต่ำสุด ดังนี้ 1) การมุ่งเน้นการประเมินเพื่อการเรียนรู้ 2) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 3) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และ 4) การใช้เทคโนโลยีเป็นฐานการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ


        2) แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 8 แนวทาง ได้แก่ 1) การประเมินความถนัด ผลการเรียนรู้และทักษะของผู้เรียน 2) การประเมินเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 3) ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และการแก้ปัญหา 4) ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 5) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานสาระความรู้ 6) การบูรณาการความรู้สู่ชีวิตจริง 7) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน และ 8) การออกแบบและพัฒนาผลงานโดยใช้เทคโนโลยี

Article Details

How to Cite
มันฑะ ส., & ภูจอมจิตร ป. (2023). แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1: The Development Guidelines for Teacher in Learning Management for 21st Century for Schools Under The Maha Sarakham Primary Education Service Area Office 1. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(3), 194–209. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3622
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญและวาสนา ศรีไพโรจน์. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:ข้าวฟ่าง.

บัณฑิต เอื้ออาภรณ์. (2557). ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้ : การศึกษาระบบ 4.0 (New Frontier of Learning : Education 4.0). กรุงเทพฯ : ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2555). สอนเขียนแผนบูรณาการบนฐานเด็กเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้แนวในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2558). การจัดการเรียนการสอนในโลกยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565 จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=43633&Key=hotnew.

ภาสกร เรืองรองและคณะ.(2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(5), 195-205.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2557). บทบาทของครูในยุคดิจิตอล.สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565 จาก https://www.facebook.com /people/ยืน-ภู่วรวรรณ/1162233576.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิวงศ์.

ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา = Development of school curriculum. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2560). ครุศึกษากับความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พัชรินทร์ พี.พี.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2560). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะสาขาวิชาชีพ. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2565 จาก http://www. Sesarea 23.go.th/web/ news_file/p33993121042.pdf.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพรอมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2558). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2565). รายงานสภาวการณ์คุณภาพการศึกษาปี 2563-2564. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

Kay, K. (2018). 21st century skills: Why they matter, what they are, and how we get there. In Bellanca, J., & Brandt, R. (Eds.), 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), p. 607-610.

Kyriacou, Chris. (2007). Essential Teaching Skills. United Kingdom: Nelson.

Martin, J. (2010). The meaning of the 21st century. Bangkok, Inc.