แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด The Development Guidelines for Digital Leadership of School Administrators under Secondary Education Service Area Roi Et

Main Article Content

สุกัญญา วุฒินิรันดร์กูล
ปองภพ ภูจอมจิตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด การวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบปลายปิด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด


          ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ความรู้ความเข้าใจดิจิทัล 2) การสื่อสาร 3) วิสัยทัศน์และกระบวนทัศน์ใหม่ และ 4) การสร้างและพัฒนานวัตกรรม ตามลำดับ ส่วนแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีรายละเอียดประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผล และมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมของแนวทางอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
วุฒินิรันดร์กูล ส., & ภูจอมจิตร ป. (2023). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด : The Development Guidelines for Digital Leadership of School Administrators under Secondary Education Service Area Roi Et. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(3), 254–268. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3624
บท
บทความวิจัย

References

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership. ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นํายุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จิรพล สังข์โพธิ์, สุวรรณ จันทิวาสารกิจ และเสาวนีย์ อยู่ดีรัมย์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรยุคดิจิทัล กรณีศึกษา : องค์กรไอทีและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565 จาก http://cio.citu.tu.ac.th/cio2017/?p=410.

ชุติรัตน์ กาญจนธนชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต.นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ไชยเจริญ อติแพทย์. (2560). IT Update: Digital Skill เพื่อก้าวไปสู่ Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2565 จาก http://ossc.depa.or.th/uploads / tinymce source .

ณัฐวุฒิ พงศสิริ. (2556). ผู้นำ Digital Economy. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2565 จากhttp://www.prachachat.net/news_ detail.php?newsid=1492660400.

ทินกร บัวชู, ทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา The Status of Digital Leadership of Education Management Administrators. วารสารครุศาสตร์สาร : Journal of Educational Studies, 2562; 13(2): 294-285.

นันท์มนัส รอดทัศนา. (2554). การจัดทำคู่มือจัดกิจกรรมพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน. สารนิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปกรณ์ ลี้สกุล. (2561). ภาวะผู้นำโลกดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2565 https://nextempire.co /stories/the-next-leadership-in-digital-era/.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2556). เทคนิคการเขียนและผลิตตำรา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พสุ เดชะรินทร์. (2560). ผู้นำในยุค 4.0. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565 จาก http://www.bangkbiznews.com/biog/ detail/640476.

เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์. (2554). เทคนิคการเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัฒนชัย ศิริกาญ. (2561). รูปแบบที่ส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี,9(1),111-124.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี และนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.

เศรษฐพงค มะลิสุวรรณ. (2560). การศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565 จาก www.เศรษฐพงค์.com.

สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งใหม่และเลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อํานวยการและรองผู้อํานวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญหรือผู้อำนวยการและรองผู้อํานวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานครเชี่ยวชาญ สำหรับผู้ดำเนินการพัฒนาและผู้เข้ารับการพัฒนา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจรรยา ขาวสกุล. (2560). ผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. นครราชศรีมา: มหาวิทยาลัยวงชวลิตกุล.

สุชญา โกมลวานิช. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 23. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยาเขตหนองคาย).

สุภวัช เชาวน์เกษม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (2561). คู่มือปฏิบัติงานกลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. (2565). แผนปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2565. ร้อยเอ็ด : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด.

สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ. (2562). คู่มือการพัฒนาตนเองผ่านระบบออนไลน์ และการประชุมปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วยสู่การเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2562). สำนักงาน ก.พ.ร. เผยแพร่ผลการพัฒนาแนวทางการให้บริการของภาครัฐและทิศทางการพัฒนาการให้บริการแบบดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565 จาก https://www.opdc.go.th/content/ NTcwNw.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565 จาก http://www. trueplookpanya. com/knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3-.

International Society for Technology in Education (ISTE). (2009). National Educational Technology Standard for Administrators. Retrieves form https://id.iste.org/docs/pdfs/ 20-14_ISTE_Standards-A_PDF.pdf.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), p. 607-610.

Sheninger, E. C. (2014). Digital leadership : changing paradigms for changing times. United States of America: Corwin.

Sullivan, L. (2017). 8 Skills Every Digital Leader Needs. Retrieves form https://www. cmswire.com/digital-workplace/8-skills-every-digital-leader-needs/.