การศึกษาภูมิปัญญาการผลิตเตาชุมชนท้องถิ่นบ้านโนนม่วง ตำบลนานวล อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด A Study of the Local Community Kiln Production Wisdom at Ban Non Muang, Na Nuan Sub-district, Phanom Phrai District Roi Et Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการผลิตเตาชุมชนท้องถิ่นบ้านโนนม่วง ตำบลนานวล อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการผลิตเตาชุมชนท้องถิ่นบ้านโนนม่วง ตำบลนานวล อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ กลุ่มผลิตเตาชุมชนท้องถิ่นบ้านโนนม่วง หมู่ที่ 5 ตำบลนานวล อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 10 คน เครื่องมือการวิจัยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและกึ่งโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างด้วยตนเองในพื้นที่วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผลิตเตาชุมชนท้องถิ่นบ้านโนนม่วง ได้เรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการผลิตเตาหุงต้มท้องถิ่นเรื่อยมาจนปัจจุบัน ได้ทดลองปั้นเตาขึ้นมาจากดินเหนียวที่นำมาจาก “ห้วยก๊าก-ว๊าก” ซึ่งเป็นดินเหนียวที่มีส่วนผสมที่อุดมด้วยธาตุเหล็กที่มีคุณสมบัติทนทานต่อการเผาไหม้ของไฟเป็นอย่างดีที่มีอยู่ตามลำห้วยห่างจากหมู่บ้านทางทิศตะวันตก ระยะทาง 3 กิโลเมตร มีการพัฒนาเป็นเตาประหยัดพลังงานที่สามารถตอบโจทย์ได้ครบและได้รับรางวัลเป็นตัวชี้วัดในการใช้งานเหมาะสมและออกแบบยอดเยี่ยมของการทำเตาชุมชนท้องถิ่น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นฤมล ภานุนําภา.(2540). การหาค่าความร้อนและการใช้เครื่อง Bomb calorimeter.เอกสารทางวิชาการ กลุ่มพลังงานจากไม้. กรุงเทพฯ : กรมป่าไม้.
นฤมล ภานุนําภาและคณะ. (2545). การปรับปรุงและส่งเสริมการใช้เตาหุงต้มที่ใช้วัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง. รายงานวิจัยกลุ่มพลังงานจากไม้. กรุงเทพฯ : สํานักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้.
ประลอง ดํารงค์ไทย. (2542). การศึกษาวิจัยพลังงานเชื้อเพลิงจากเปลือกทุเรียนในรูปของเชื้อเพลิง อัดแท่งสํานักวิชาการป่าไม้. กรุงเทพฯ : กรมป่าไม้.
ภรดี พันธุภากร. (2535). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเซรามิกในจังหวัดชลบุรี. รายงานการงานวิจัยภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2542). การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะรูปแบบศิลปะและการจัดการเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน อำเภอ โชคชัย จังหวัดนครราชสีมา กับบ้านหม้อ จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : สำนักงานโครงการเสริมสร้าง ศักยภาพกลุ่มนักวิจัยอีสานคดี เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
สุภาคย์ อินทองคง. (2524). การทำเครื่องปั้นดินเผาของขาวสทิงหม้อ. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.
อ้อยทิพย์ พลศรี. (2542). การสร้างรูปแบบหม้อดินสทิงหม้อ. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
จิระพงษ์ คูหากาญจน์ และคณะ. (2545). การพัฒนาเตาหุงต้มในครัวเรือนเพื่อใช้งานกับเชื้อเพลิงอัดแท่ง.สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้. กรุงเทพฯ : สํานักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้.
มนัส แซ่เล้า. (2528). การศึกษาการทำเชื้อเพลิงเขียวจากวัชพืชบางชนิด. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พีรพงษ์ พันธะศรี. (2561). เครื่องปั้นดินเผาสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาประกอบไม้ยางพารา และในจังหวัดสงขลา. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลา.