ปัจจัยความสำเร็จต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา Success Factors for Educational Institution Management of Educational Personnel Special Education Center, Educational Area 11, Nakhon Ratchasima Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยความสำเร็จ 2) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารจัดการสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยความสำเร็จต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ แจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยความสำเร็จโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือปัจจัยภายนอก รองลงมา คือปัจจัยภายใน 1.1) ปัจจัยภายนอก โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อันดับที่ 1 คือ สภาพแวดล้อมภายนอก รองลงมา คือลักษณะผู้รับบริการ และอันดับสุดท้ายคือลักษณะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 1.2) ปัจจัยภายใน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับที่ 1 คือด้านคุณภาพบุคลากร รองลงมาคือด้านทรัพยากร ด้านเป้าหมาย ด้านนโยบายและการปฏิบัติ ด้านโครงสร้างองค์กร และอันดับสุดท้ายคือด้านวัฒนธรรมองค์กร 2) การบริหารจัดการสถานศึกษา โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับที่ 1 คือด้านหลักสูตรและกระบวนการ รองลงมาคือด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านการมุ่งเน้นนักเรียน ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร และอันดับสุดท้ายคือ ด้านการเงิน และสมรรถนะการให้บริการ 3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความสำเร็จต่อการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน ให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) มีค่าเท่ากับ 0.912 และสามารถอธิบายความผันแปรของปัจจัยความสำเร็จต่อการบริหารจัดการสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 80.00 (R2=0.800) และผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยความสำเร็จต่อการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า ทุกสมมติฐานมีความสอดคล้องและพบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จีระพรรณ โพนพุธ.(2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก.ปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์.ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.
ในตะวัน กำหอม.(2559).การวิจัยทางการศึกษา.เล่ม 1.มหาสารคาม: โรงพิมพ์ทีคอม.
พรรณวดี ปามุทา.(2559). ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
ภัครมัย เดียสะ.(2560). การบริหารจัดการเรียนร่วมโรงเรียนขยายโอกาส เครือกะเปอร์พัฒน์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมและเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเรียน ร่วมโรงเรียนขยายโอกาสเครือกะเปอร์พัฒน์.สาขาการบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เรืองสิทธิ์ นามกอง.(2560). การประเมินความต้องการจำเป็นในการใช้ทรัพยากรทางการบริหารเพื่อการจัด การศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25.วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11,(4), 142-153.
วิจิตรา กูลหกูล.(2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษ มัธยมศึกษา เขต 2.วารสารบริหารการศึกษา มศว,14(27): 79-87.
ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11.(2565). รายงานผลการประเมินตนเองศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
อุมาพร สันตจิตร.(2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสําเร็จในการบริหารสถานศึกษาเอกชน ระดับประถมวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย.นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
Bibi, A., Khalid, M. A., & Hussain, A. (2019). Perceived organizational support and organizational commitment among special education teachers in Pakistan. International Journal of Educational Management, 33(5), pp. 848-859.
Kijai Jimy. (1987). School Effectiveness Characteristics and School Incentive Reward. Dissertation Abstracts International.48(04), 314 – A.
Reid, Ken,Hopkins, David and Holly,Peter.(1988).Toward the Effective School. Oxford: Basic Blackwell Ltd.
Ruhl, M.L. (1985). The Development of a Servey of School Effectiveness Climate, Principal Leadership. Dissertation Abstracts International. 46(11): 3216-A.