ความสัมพันธ์ของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวัดสุขวราราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 Relationship of good governance of administrator and teachers’ motivation. Wat Sukwararam School, Nakhon Pathom Primary Education Service Area Office 1

Main Article Content

พนาลี เหลือวัฒนวรรณ
โสภี วิวัฒน์ชาญกิจ
ในตะวัน กำหอม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล 2) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดสุขวราราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ประชากร คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)


ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอันดับที่ 1 คือ หลักคุณธรรม รองลงมา คือ หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส หลักนิติธรรมและอันดับสุดท้าย คือ หลักความคุ้มค่า  2) แรงจูงใจในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อันดับที่ 1 คือ ปัจจัยค้ำจุน และอันดับสุดท้าย คือ ปัจจัยจูงใจ 3)  ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลต่อแรงจูงใจของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดสุขวราราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 พบว่า หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ มีค่าเท่ากับ 0.998 และสามารถอธิบายความผันแปรของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดสุขวราราม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 99.80 (R2=0.996) และผลการทดสอบสมมติฐาน การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลส่งผลทางบวกต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดสุขวราราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 และพบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
เหลือวัฒนวรรณ พ., วิวัฒน์ชาญกิจ โ., & กำหอม ใ. (2023). ความสัมพันธ์ของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวัดสุขวราราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1: Relationship of good governance of administrator and teachers’ motivation. Wat Sukwararam School, Nakhon Pathom Primary Education Service Area Office 1. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(3), 269–284. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3747
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา.(2566). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง).กรุงเทพฯ: สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

คมธนู ควรประเสริฐ.(2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริหารของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการทำงานของครู โรงเรียนเอกชนในเครือเซนต์มารีอา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธีรพงษ์ มหาวีโร.(2566).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2560-2577). กรุงเทพ : เดอะบุ๊คส์.

ในตะวัน กำหอม.(2559).การวิจัยทางการศึกษา. เล่ม 1. มหาสารคาม: โรงพิมพ์ทีคอม.

เปรมทิพย์ คำทะเนตร.(2564).ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.สกลนคร: มหาวิทยลัยราชภัฏสกลนคร.

พรรณิภา ไชยศรี.(2563).การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.สกลนคร: มหาวิทยลัยราชภัฏสกลนคร.

วรรณา นิ่วนวล.(2559). ธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.(2560).รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.