ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อระบบนิเวศการจัดการศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวัดสุขวราราม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม Administrative Factors Affecting the Educational Management Ecosystem of Educational Personnel Wat Sukwararam School, Don Tum District, Nakhon Pathom Province

Main Article Content

ศรุดา ลิ้มรชตสกุล
โสภี วิวัฒน์ชาญกิจ
ในตะวัน กำหอม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหาร 2) ศึกษาระดับระบบนิเวศการจัดการศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อระบบนิเวศการจัดการศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดสุขวราราม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ แจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)


          ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยการบริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอันดับที่ 1 คือ ด้านภาวะผู้นำ รองลงมาคือด้านการบริหารจัดการ ด้านงบประมาณ ด้านการพัฒนาบุคลากร และอันดับสุดท้ายคือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ระบบนิเวศการจัดการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้านพบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมาก อันดับที่ 1 คือด้านกิจกรรม รองลงมา คือ ด้านผู้มีบทบาท และอันดับสุดท้าย คือ ด้านสิ่งประดิษฐ์ 3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อระบบนิเวศการจัดการศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดสุขวราราม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พบว่า ด้านภาวะผู้นำ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการพัฒนาบุคลากร ให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ มีค่าเท่ากับ 0.900 และสามารถอธิบายความผันแปรของปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อระบบนิเวศการจัดการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 90.00 (R2=0.911) และผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยการบริหารส่งผลทางบวกต่อระบบนิเวศการจัดการศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดสุขวราราม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
ลิ้มรชตสกุล ศ., วิวัฒน์ชาญกิจ โ., & กำหอม ใ. (2023). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อระบบนิเวศการจัดการศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวัดสุขวราราม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม: Administrative Factors Affecting the Educational Management Ecosystem of Educational Personnel Wat Sukwararam School, Don Tum District, Nakhon Pathom Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(3), 397–412. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3749
บท
บทความวิจัย

References

แก้วกาญจน์ กิมานุวัฒน์.(2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ.หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชุติกาญจณ์ ทองทับ.(2560). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในอำเภอเมืองชลบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1.หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ในตะวัน กำหอม.(2559).การวิจัยทางการศึกษา.เล่ม 1.มหาสารคาม:โรงพิมพ์ทีคอม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสด.

สงวน ทรงวิวัฒน์.(2563). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศขององค์การในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3.หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บุรีรัมย์:มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทินและชุติมา ชุมพงศ์.(2561). โรงเรียนอิสระในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา.สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1092807.

สรคุปต์ บุญเกษม สันติศักดิ์ กองสุทธิ์ใจและวินัย รังสินันท์.(2560). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์.สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาองค์การ หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต.นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2564). แนวทางการพัฒนาผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล.(2564). ระบบนิเวศนวัตกรรมในโรงเรียนที่มุ่งพัฒนานักเรียนนวัตกร.หลักสูตร การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อภิชญา สวัสดี.(2565). แนวทางการจัดระบบนิเวศการเรียนรู4ภายในสถานศึกษารองรับการเรียนรู4เชิงรุก.สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Fayombo,G.A.(2012).Relating emotional intelligence to academic achievement among university students in Barbados. The International Journal of Emotional Education, 4(2), 43–54.

Granstrand, O.,& Holgersson,M.(2020). Innovation ecosystems: A conceptual review and a new definition. Technovation,90-91, 102098.

Hannon, E. E., Soley, G., and Levine, R. S. (2011). Constraints on infant’s musical rhythm perception: effects of interval ration complexity and enculturation. Developmental Science. 14, 865–872.

Smith, M. (2021). infed.org: Education, Community-Building and Change. Retrieved from https://www.infed.org.

UNDP (United Nations Development Programme).(2019).Human Development Report 2019: Beyond income, beyond averages, beyond today: Inequalities in human development in the 21st century. New York.