ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 Factors Effective Happiness at Work of Teachers in Schools Under Loei Primary Educational Service Area Office 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสุขในการปฏิบัติงานของครูผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนในการทำงานขององค์กร เพื่อเกิดแรงกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพขององค์กร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสุขในการปฏิบัติงานของครู 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานงานของครู 5) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู ตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 3 จำนวน 207 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้วิธี Enter เพื่อคัดเลือกตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติแล้วจึงนำตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติไปสร้างสมการพยากรณ์โดยใช้วิธี Stepwise
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความสุขในการปฏิบัติงานงานของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสุขในการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับ สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 3 อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติระดับ .01 ได้แก่ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพ (X2) ปัจจัยด้านลักษณะงาน (X1) และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (X3) 5) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 1.563 + 0.305(x2) + 0.173(x1) + 0.164(x3)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = 0.388(x2) + 0.211(x1) + 0.210(x3)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กอปรลาภ อภัยภักดิ์. (2563). บรรยากาศองค์กรแห่งความสุข: คนเบิกบาน งานสำเร็จ. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 6(1), 315 – 330.
กษมา ช่วยยิ้ม. (2563). การพัฒนารูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.สุราษฎร์ธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ก่อกนิษฐ์ คำมะลา. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จตุพร ไชยราช. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยพะเยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ดามรัศม์ รัตนนาคินทร์. (2557). ปัจจัยแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University, 1(4), (17 - 30).
ธารินทร์ ระศร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 21. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา.อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ธีระศักดิ์ ทรัพย์ประเสริฐ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(2),1-15.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
พันชัย เม่นฉาย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต.วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต,16(2), 61 -78.
ภาวินี พลายน้อยและจักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนครนายก จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารทั่วไป รัฐประศาสนศาสตร บัณฑิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ.ชลบุรี: มหาวิทยาลยับูรพา.
สุมาลี ดวงกลาง. (2560). ความสุขในการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกริก.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12.กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. (2565). คู่มือการปฏิบัติงาน ของกลุ่มงานในสำนักงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 จาก https://www.loei3.go.th/.
Hackman, J.R. and G.R. Oldham. (1976). Motivation through the design of work: test of a theory. Organizational Behavior and Human Performance. (16), 250-279.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607 – 610.
Lu, L., Shin, Y. B., Lin, Y., & Ju, L. S. (1997). Personal and environmental correlates of happiness. Personal and Individual Differences, 23(3), 453 - 462.
Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.