ความสัมพันธ์ของความสุขในการบริหารงานสถานศึกษาของครูโรงเรียนโพธิสารพิทยากร เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร The relationship of happiness in school administration among teachers at Photisarn Phitthayakorn School, Taling Chan District, Bangkok

Main Article Content

ณัฏฐ์กฤษณ์ สิงห์โตทอง
โสภี วิวัฒน์ชาญกิจ
ในตะวัน กำหอม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนโพธิสารพิทยากร 2) ศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาของครูโรงเรียนโพธิสารพิทยากร เขตลลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของความสุขในการทำงานของครุโรงเรียนโพธิสารพิทยากร ที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนโพธิสารพิทยากร ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูโรงเรียนโพธิสารพิทยากร จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ แจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


          ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยการบริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}= 3.39, S.D.= 0.62) 2) ผลการวิเคราะห์ความสุขในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}= 3.82, S.D.= 0.78) 3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการบริหารงานสถานศึกษาของครูโรงเรียนโพธิสารพิทยากร เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านการให้สิ่งตอบแทนที่เหมาะสม, ด้านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ, ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล, ด้านความเจริญก้าวหน้าและมั่นคงในงาน, ด้านการบูรณาการกับสังคม, ด้านประชาธิปไตยในการทำงานและด้านจังหวะชีวิต ให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ มีค่าเท่ากับ 0.900 และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของความสุขในการบริหารงานสถานศึกษาของครูโรงเรียนโพธิสารพิทยากร เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 90.00 (R2=0.911) และผลการทดสอบสมมติฐาน ความสัมพันธ์ของความสุขในการบริหารงานสถานศึกษาของครู ดรงเรียนโพธิสารพิทยากร เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร พบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
สิงห์โตทอง ณ., วิวัฒน์ชาญกิจ โ., & กำหอม ใ. (2023). ความสัมพันธ์ของความสุขในการบริหารงานสถานศึกษาของครูโรงเรียนโพธิสารพิทยากร เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร: The relationship of happiness in school administration among teachers at Photisarn Phitthayakorn School, Taling Chan District, Bangkok. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(3), 313–327. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3783
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

แก้วกาญจน์ กิมานุวัฒน์. (2564).ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชุติกาญจณ์ ทองทับ.(2560). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในอำเภอเมืองชลบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.การบริหารการศึกษา. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.

ในตะวัน กำหอม.(2559).การวิจัยทางการศึกษา.เล่ม 1.มหาสารคาม:โรงพิมพ์ทีคอม.

สมศักดิ์คงเที่ยงและอัญชลีโพธิ์ทอง. (2542). การบริหารบุคลากรและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

สรคุปต์ บุญเกษม, สันติศักดิ์ กองสุทธิ์ใจและวินัย รังสินันท์.(2560). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์.สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาองค์การ หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต.นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560). แนวทางการพัฒนาผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.