การศึกษาแนวทางการป้องกันยาเสพติดสำหรับเยาวชนในชุมชนบ้านหัวเมือง ตำบลหัวเมือง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร A Study of Drug Prevention Guidelines for Youth in Ban Hua Mueang Community, Hua Mueang Subdistrict, Maha Chanachai District, Yasothon Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกฝ่ายต้องพยายามหาทางช่วยกันแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติดในเยาวชนของชุมชนบ้านหัวเมือง 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการป้องกันยาเสพติดในเยาวชนของชุมชนบ้านหัวเมือง ตำบลหัวเมือง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบผสานวิธี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย คือ ตัวแทนเยาวชนในชุมชน หมู่ที่ 1,8,9 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือสถิติขั้นพื้นฐานประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาการรู้เกี่ยวกับยาเสพติดในด้านชนิดยาเสพติดที่เพื่อนเคยใช้มากที่สุด 3 ลำดับคือ ยาบ้า ใบกระท่อม และทินเนอร์/กาว ตามลำดับ 2) การรับรู้ด้านกิจกรรมที่ส่งเสริมการป้องกันปัญหายาเสพติดของเยาวชนมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ กิจกรรมทางกีฬา, การเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม และกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว สำหรับปัญหาและอุปสรรคการป้องกันยาเสพติด ได้แก่ ปัญหาการขาดความจริงจังของเจ้าหน้าที่ทางราชการที่ไม่เข้มงวดเด็ดขาดกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ การมีกฏหมายที่ไม่เข้มงวดทำให้ผู้ค้ายาไม่เกรงกลัว ตลอดจนผู้นำชุมชนควรหันมาให้ความสนใจกับเยาวชนเพิ่มมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงสาธารณสุข.(2559). ยาและสารเสพติด. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566 จาก http://training.dms.moph.go.th/rtdc/storage/app/uploads/public/59b/9e7/987/59b9e7987a64b874534736.pdf.
ณัษฐนนท์ ทวีสินและอานนท์ ทวีสิน.(2560). แนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดของเยาวชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(1), 151–158.
รัตนา ศรีเนตรและคณะ.(2553). สาเหตุของการติดยาเสพติด. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566 จาก https://sites.google.com/site/payhayasephtidnichumchn/sahetu-kar-tid-ya-seph-tid.
รังสรรค์ สิงหเลิศ.(2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. มหาสารคาม : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิสุทธิณี ธานีรัตน์.(2558). แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแผนประชารัฐร่วมใจปลอดภัยยาเสพติด:กรณีศึกษาหมู่ที่ 4 ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์,20(1),81-93.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2562). ความหมายของพฤติกรรม. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566 จาก https://th.wikipedia.org/A1.
ศุกร ชินนะเกตุ.(2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.