การทำงานเป็นทีมที่มีผลต่อการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา Teamwork Affecting the Quality Management Throughout the Organization of Hat Yai City Municipality, Songkhla Province

Main Article Content

ณตฤณ เพ็ชรมี
วรรณวิภา ไตลังคะ
พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิตย์
นิรันทร์ ภิรมย์ลาภา

บทคัดย่อ

          การทำงานเป็นทีมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างมากในการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ เพราะประสบการณ์ที่หลากหลายจะทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ในองค์การ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมและระดับการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 2) ศึกษาปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่มีผลต่อการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 105 คน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบนำตัวแปรทั้งหมดเข้าสมการ


          ผลการวิจัยพบว่า การทำงานเป็นทีมของเทศบาลนครหาดใหญ่ภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีการทำงานเป็นทีมด้านการไว้วางใจซึ่งกันและกัน อยู่ในระดับมากที่สุด และการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของเทศบาลนครหาดใหญ่ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีการบริหารด้านการให้ความสำคัญกับลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอก อยู่ในระดับมากที่สุด และพบว่าการทำงานเป็นทีมมีผลต่อการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้คือ ด้านการไว้วางใจซึ่งกันและกัน (X1) ด้านการยอมรับนับถือ  (X2) ด้านเป้าหมายของทีม (X3)  ด้านการติดต่อสื่อสาร (X4) และ ด้านการปฏิสัมพันธ์ (X5) ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การได้ร้อยละ 53.50 และเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้


         gif.latex?Z\hat{} y = 0.331x1 + 0.437x2 – 0.125x3 – 0.056x4 + 0.239x5

Article Details

How to Cite
เพ็ชรมี ณ., ไตลังคะ ว., เพชรสถิตย์ พ., & ภิรมย์ลาภา น. (2023). การทำงานเป็นทีมที่มีผลต่อการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา: Teamwork Affecting the Quality Management Throughout the Organization of Hat Yai City Municipality, Songkhla Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(3), 382–396. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3842
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ มีทรัพย์และนิตยา สินเธาว์. (2564). การพัฒนาการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. Lawarath Social E-Journal, 3(1), 25–38.

กองการเจ้าหน้าที่ เทศบาลนครหาดใหญ่. (2566). จำนวนบุคลากร. ม.ป.ท.

จตุพร เสถียรคง. (2562). กลยุทธ์แห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการภาครัฐของไทย.วารสารวิจัยราชภัฎเชียงใหม่, 20(2), 115 – 127.

ชัจจ์ชนันต์ ธรรมจินดา. (2564). รวมสุดยอดแนวคิดการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นุชจริน เสริมสวัสดิ์. (2565). ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 10(1), 175 – 190.

ปัสรินญา ผ่องแผ้ว และคณะ. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมที่มีสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดเทศบาล. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) , 10(1), 13 – 26.

พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิตย์. (2562). ทุนทางสังคมกับการขับเคลื่อนธุรกิจชุมชนในเขตตำบลเสม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 232.

พรรณภา อนันตะคู และคณะ. (2563). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคกลาง. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(77), 86-99.

วรรณวิภา ไตลังคะ และคณะ.(2565). การถ่ายโอนภารกิจด้านสังคมสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: สภาพการณ์ ปัญหาอุปสรรคและแนวโน้มในอนาคต. วารสารศิลปการจัดการ, 6(4), 2009.

รายงานประจำปี เทศบาลนครหาดใหญ่. (2565). ข้อมูลทั่วไปเทศบาลนครหาดใหญ่. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2565 จาก https://www.hatyaicity.go.th/event.php.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2560). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2565 จาก https://www.opdc.go.th/content/Nzc.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.(2566). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565 จาก https://odloc.go.th/good-management/.

อนันต์ ธรรมชาลัย. (2561). แนวทางการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมในธุรกิจอุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 12(1), 300.

อ้อมจันทร์ ภิรมย์ราช. (2563). แนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 11(1-2), 75-92.

Parker, G. M. (1990). Team Players and Team Work: The New Competitive Business Strategy. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Woodcock, M. (1989). Team Development Manual. (2thed). Worcester, Great Britain: Billing & Son.

Yamane, T. (1973). Statistic: an Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.