ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก Opinion of People towards Administration under the Principles of Good Governance of Ongkharak Subdistrict, Municipality Ongkharak District, Nakhon Nayok Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
ธรรมาภิบาลเป็นแนวคิดสำคัญในการบริหารงานและการปกครองเนื่องจากความเป็นโลกาภิวัตน์ธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการที่ดี จึงเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานภายใต้หลักธรรมมาภิบาลของเทศบาลตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานภายใต้หลักธรรมมาภิบาลของเทศบาลตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ซึ่งเมื่อพบความแตกต่างจะทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธี LSD
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนมีความเห็นว่าเทศบาลตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก สามารถบริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อนำมาพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประชาชนมีความเห็นว่าเทศบาลตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก สามารถบริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ หลักความคุ้มค่า รองลงมาคือ หลักคุณธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส และหลักความรับผิดชอบ ตามลำดับ และ 2) ผลการการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ โดยประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองการเจ้าหน้าที่ เทศบาลตำบลองครักษ์. (2566). ข้อมูลประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลตำบลองครักษ์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566 จาก https://www.ongkarak.go.th/public/.
ขนิษฐา ศรีปิ่นแก้ว. (2560). การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ติยานนท์ แสงบุตร. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาอิสระหลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พิชัยรัฐ หมื่นด้วง และ นัสพงษ์ กลิ่นจำปา. (2564). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. รายงานการวิจัย.อุดรธานี: วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
วรลักษณ์ วรรณกูล. (2559) . การบริหารจดัการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การศึกษาอิสระหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุดาภรณ์ อรุณดี และคณะ. (2565). การบริการภาครัฐแนวใหม่ กรณีศึกษา : การให้บริการประชาชน (One Stop Service) บนสถานีตำรวจนครบาล. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทัศน์. 7(1), 31 - 42.
สมยศ ปัญญามาก. (2561). หลักธรรมาภิบาลกับผู้นำองค์การ. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 3(1), 55 - 69.
สถาพร วิชัยรัมย์. (2560). จริยธรรมสำหรับนักบริหาร. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2566). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566 จาก http://www.oic.go.th/infocenteropm/ifunc_paging.asp.
Yamane, T. (1973). Statistic: an Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.