ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารจัดการเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยกลุ่มพื้นที่โซนนิ่งที่ 13 จังหวัดร้อยเอ็ด The Satisfaction of the Public with the Management of the Prevention and Mitigation network in the Disaster-Prone Area, Zone 13, in the Province of Roi Et

Main Article Content

สมหมาย อาสากิจ
ศราพร ศัตรูพ่าย
สุทธิ์พิรัชย์ บุญเล่ห์
วิชัย ศรีษะเกษ
พระครูปริยัติวรเมธี

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้รับบริการที่มีต่อการบริหารจัดการเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 3) หาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความพึงพอใจของต่อการบริหารจัดการเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยกลุ่มพื้นที่โซนนิ่งที่ 13 จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยที่ระดับ (gif.latex?x\bar{}=4.38,S.D.= 0.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับพอใจมาก ทั้ง 4 ด้าน และเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านช่องทางในการติดต่อสื่อสาร (gif.latex?x\bar{}=4.49 ,S.D.= 0.37) รองลงมาคือ ด้านกระบวนการและขั้นตอน (gif.latex?x\bar{}=4.39,S.D.= 0.42) ด้านการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัย (gif.latex?x\bar{}=4.34,S.D.= 0.37) และด้านเจ้าหน้าที่และบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน (gif.latex?x\bar{}=4.34 ,S.D.= 0.35) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในกลุ่มโซนนิ่งที่ 13 จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านกระบวนการและขั้นตอน เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติเจ้าหน้าที่ควรรีบรายงานผู้บังคับบัญชาให้ทราบ ด้านช่องทางในการติดต่อสื่อสาร เจ้าหน้าที่ควรรีบประสานงานกับหน่วยงานเครือข่ายให้ทราบโดยเร็ว และการเข้าเผชิญเหตุของเครือข่ายควรมีความรวดเร็ว ด้านเจ้าหน้าที่และบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ควรประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ให้ทราบถึงสถานการณ์ร่วมกัน การรายงานผู้บัญชาการเหตุการณ์ให้ทราบเพื่อพิจารณาสั่งการได้ถูกต้อง และด้านการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัย ควรแจ้งผู้ประสบภัยให้ทราบถึงแนวทางการให้ความช่วยเหลือโดยด่วน

Article Details

How to Cite
อาสากิจ ส., ศัตรูพ่าย ศ., บุญเล่ห์ ส., ศรีษะเกษ ว., & พระครูปริยัติวรเมธี. (2023). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารจัดการเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยกลุ่มพื้นที่โซนนิ่งที่ 13 จังหวัดร้อยเอ็ด: The Satisfaction of the Public with the Management of the Prevention and Mitigation network in the Disaster-Prone Area, Zone 13, in the Province of Roi Et. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(3), 473–487. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3899
บท
บทความวิจัย

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2550).พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550.กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการฝ่ายพลเรือน กรมป้องกนและบรรเทาสาธารณภัย.

กิตติยา เหมังค์. (2548). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรับฝากณที่ท้าการไปรษณีย์หลักสี่. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิณาภา ใคร้มา และประภัย สุขอิน (2557) ความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ชูโชค ทิพยโสตถิ. (2545). การสำรวจทัศนคติต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านงานทะเบียนราษฎรและบัตรประจ้าตัวประชาชนของสำนักงานเขตบางนา. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป.ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.

ดุษฎี จันทรากา .(2554). การฟื้นฟูเยียวยาผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในรูปแบบสหวิชาชีพ กรณีศึกษาโครงการบ้านพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิเด็กชนเผ่าลุ่มน้ำโขง. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2547). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี จํากัด

น้ำลิน เทียมแก้ว (2561) ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.ประจำปีการศึกษา 2555. มหาสารคาม : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ลักษณวรรณ พวงไม้มิ่ง. (2545). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของราษฎรผู้พิทักษ์ป่าประจำหน่วยป้องกันรักษาป่าจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรป่าไม้.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วารุณี คุ้มบัว และคณะ (2557) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการของสำนักวิทยบริการ และเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครราชสีมา.นครราชสีมา: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศิริพร ตันติพูลวินัย. (2538). การพัฒนาตน พัฒนาคุณภาพงาน. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 1(3), 91 – 95.

สัญญา เคณาภูมิ และคณะ.(2563). การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลสงยาง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุนันทา ทวีผล. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการด้านให้คำปรึกษาแนะนำปัญหาด้านกฎหมายของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย3 (สคช.). ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Chaplin, J. P. (1968). Dictionary of Psychology. New York: Raquin Book.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.

Green, C. N. (1972). The Satisfaction - Performance Controversy: New Developments and Their Implication. Business Horizon. 12(5), 11-22.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Millet, John D. (1954). Management the Public Service. New York: McGraw-Hill.

Yoder, Dale. (1985). Personnel Principles and Policies. New Jersey: Prentice-Hall.