รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Model for Developing Administrative Competencies of Mayors of Sub-district Municipalities in the Northeastern Region

Main Article Content

วิชัย ศรีษะเกษ
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร
สัญญา เคณาภูมิ

บทคัดย่อ

สภาพปัญหาการบริหารเทศบาลตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังขาดการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ มีการดำเนินงานการบริหารยุทธศาสตร์ยังไม่สอดคล้องกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการบริหารยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติรวมทั้งการใช้ภาวะผู้นำของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล บุคลากรมีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานยังไม่ดีพอ ขาดการทำงานมาตรฐานสูงอย่างมืออาชีพ ยังขาดการนำเอาระบบการบริหารสมรรถนะมาใช้ ทั้งการสรรหา การคัดเลือกบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากรและการจ่ายค่าตอบแทน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะทางการบริหารของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล 3) เพื่อสร้างและยืนยันรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล กลุ่มตัวอย่าง คือ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาลตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะทางการบริหารของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.57) 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ปัจจัยด้านศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และปัจจัยด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ โดยทั้ง 3 ตัวแปรสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของสมรรถนะทางการบริหารของนายกเทศมนตรี ได้อย่างถูกต้องร้อยละ 95.20 (R2 = 0.952) 3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร ด้านศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ ผลการยืนยันรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าความสอดคล้อง ระหว่างควอไทล์ น้อยกว่า 1.5 ทุกแนวทาง ซึ่งรูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมาก ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร ประกอบด้วย การพัฒนาภาวะผู้นำ ธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม การปฏิบัติตามระเบียบกฎหมาย การวางแผนกลยุทธ์ การมีมนุษยสัมพันธ์ การรับฟังปัญหาพร้อมให้คำปรึกษา การทำงานเป็นทีม การสร้างค่านิยมในองค์กรให้เกิดความสามัคคี การควบคุมตัวเอง การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ การวิเคราะห์ แยกแยะ จัดการปัญหา การสอนงาน การมอบหมายงาน และการให้คำปรึกษาช่วยเหลือ

Article Details

How to Cite
ศรีษะเกษ ว., โกศลกิตติอัมพร เ., & เคณาภูมิ ส. (2024). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: Model for Developing Administrative Competencies of Mayors of Sub-district Municipalities in the Northeastern Region. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(1), 79–95. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3981
บท
บทความวิจัย

References

บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์. (2563). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

ปิยาภรณ์ ลิมโพธิ์ทอง. (2561). รูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดหนองคาย. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์, สัญญา เคณาภูมิ และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2558). บทบาทของผู้บริหาร ท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจธ. 3(2): 146-161.

พีรพงษ์ แสงแก้ว. (2565). 7 กลไกการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(3), 386-397.

วิชาธร พิมพ์กลม. (2560). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนปราบปรามยาเสพติดในสังกัดตำรวจภูธรภาค 4. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์),มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิไลพร ไชยโย. (2556). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุกันต์ แสงโชติ. (2560). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิยาลัย. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์),มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สัญญา เคณาภูมิ. (2557). รูปแบบการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยทางการบริหารจัดการ The Writing Format of Research Conceptual Frameworks on Management. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 8(3), 36-38.

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2558). การพัฒนาตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 5(1), 58-75.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Aderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.