รูปแบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Modern Management Model of the Subdistrict Administrative Organization in the Northeastern Region

Main Article Content

อังครัตน์ เดชวัฒนโยธิน
ยุภาพร ยุภาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อสร้างและยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการศึกษา 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาระดับการบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขั้นตอนที่ 3 การสร้างและยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


        ผลการวิจัย พบว่า


  1. การบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ปัจจัยความเป็นธรรมาภิบาลในองค์กร มีค่าน้ำหนักของตัวแปรสังเกตได้อยู่ระหว่าง 0.74-0.92 ปัจจัยการจัดการองค์กร มีค่าน้ำหนักของตัวแปรสังเกตได้อยู่ระหว่าง 0.67-0.89 ปัจจัยภาวะผู้นำสมัยใหม่ของผู้บริหาร มีค่าน้ำหนักของตัวแปรสังเกตได้อยู่ระหว่าง 0.87-0.93 ปัจจัยการเมืองภาคพลเมือง มีค่าน้ำหนักของตัวแปรสังเกตได้อยู่ระหว่าง 0.79-0.98 ปัจจัยการบริหารจัดการสมัยใหม่ มีค่าน้ำหนักของตัวแปรสังเกตได้อยู่ระหว่าง 0.86-0.96

  3. การสร้างและยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) การบริหารองค์กรปัจจัยแวดล้อมภายนอก ได้แก่ (1) การบริหารจัดการสมัยใหม่ (2) การเมืองภาคพลเมือง 2) การบริหารองค์กรปัจจัยภายใน ได้แก่ (1) การจัดการองค์กร (2) ความเป็นธรรมาภิบาลในองค์กร (3) ภาวะผู้นำสมัยใหม่ของผู้บริหาร และ(4) เครื่องมือความสำเร็จ 3) เงื่อนไขและข้อจำกัดในการบริหารจัดการสมัยใหม่ ได้แก่ (1) การบริหารองค์กรปัจจัยแวดล้อมภายนอก (2) การบริหารองค์กรปัจจัยภายใน และ (3) ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย การยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เดชวัฒนโยธิน อ., & ยุภาศ ย. (2024). รูปแบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: Modern Management Model of the Subdistrict Administrative Organization in the Northeastern Region. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(1), 127–142. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3982
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). มาตรฐานการส่งเสริมการพัฒนาสตรี. กรุงเทพฯ:กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2559). องค์ประกอบการควบคุมภายในของหน่วยงาน. กรุงเทพฯ:สำนักงานมาตรฐานการบริหารงานองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น.

. (2566). ข้อมูลพื้นฐานของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

จิระชัย ยมเกิด. (2558). รูปแบบการจัดการเทศบาลเมืองในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ชัชลิต สรวารี. (2557). การบริหารคนกับองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2557). ภาวะผู้นําร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2564). การศึกษากรอบแนวคิดแบบรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่และการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มีต่อการปฏิรูประบบราชการของไทย. สืบค้น 12 สิงหาคม 2566, จากhttp://www.ballchanchai.com/?cid=311360.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2551). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: รัตนไตร.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2559). ปัญหาการจัดการบุคคลในอนาคต ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุวิน ทองปั้น. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการสภาพลเมืองเชิงพุทธ จังหวัดขอนแก่น. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อรพินท์ สพโชคชัย. (2559). แนวทางการนำหลักการธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ สำหรับการบริหารงานส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

อรพินท์ สพโชคชัย.(2561).หลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. สืบค้น 12 สิงหาคม 2566, จาก http://www.opdc.go.th/oldweb/Mission/File_download/1141793785-1.ppt.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607 – 610.