ผลสัมฤทธิ์และแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร Achievements and Guidelines for Developing Teaching and Learning Management via Online System During the COVID-19 Situation of Mahamakut Buddhist University Yasothon Buddhist Callage

Main Article Content

กันต์ ศรีหล้า
วิภาษณ์ เทศน์ธรรม
พระครูประสิทธิ์ศีลคุณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจและแนวทางการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 รวมถึงผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ และเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้วยตนเองก่อนและหลังใช้ระบบออนไลน์ในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ศึกษาเชิงปริมาณใช้ข้อมูลจากประชากรจำนวน 261 คน และเชิงคุณภาพจำนวน 40 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยรวมพารามิเตอร์ (gif.latex?\mu) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (gif.latex?\sigma) การตรวจสอบค่าคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด การตรวจสอบค่า t ค่า df และค่า Sig ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การตีความ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และอธิบายผลเชิงพรรณนา


          ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu =3.44 ,gif.latex?\sigma = 1.85) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ สามารถสะท้อนผ่านความสามารถในการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบและจัดประเภทสิ่งแวดล้อมทุกชนิดที่อยู่รอบกาย และความสามารถทางด้านภาษา การนับ การรู้ค่าของจำนวน และความรู้ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์รอบตัวทุกชนิด ผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการศึกษาควรเป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างคน สร้างงานและสร้างชาติเป็นการศึกษาแบบองค์รวมและบูรณาการ พร้อมมุ่งสั่งสมทุนปัญญาไทยและทุนปัญญาโลก อีกทั้งต้องเน้นผลต่อผู้เรียน และมุ่งยกระดับแรงงานให้เป็นแรงงานคุณภาพผ่านการพัฒนาและสร้างปัญญาชนโดยปัญญาชนดังกล่าวมี 2 ระดับ คือ ประชาเมธีและปราชญาธิบดี และการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังใช้ระบบออนไลน์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยระบบออนไลน์ (gif.latex?\mu = 74.86,gif.latex?\sigma = 5.97) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\mu= 60.64 ,gif.latex?\sigma= 5.24) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ศรีหล้า ก., เทศน์ธรรม ว., & พระครูประสิทธิ์ศีลคุณ. (2023). ผลสัมฤทธิ์และแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร: Achievements and Guidelines for Developing Teaching and Learning Management via Online System During the COVID-19 Situation of Mahamakut Buddhist University Yasothon Buddhist Callage. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(3), 600–616. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4019
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สุภาราญ. (2564). ทักษะครูกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ยุคใหม่. สืบค้น 23 สิงหาคม 2564 จาก: https://www.educathai.com/knowledge/articles/372.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564 จาก: https://www.moe.go.th.

จิตนิภา สว่างแจ้ง, สิรินธร สินจินดาวงศ์. (2559). แนวทางการบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับประถมศึกษาที่ใช้หลักสูตรที่เน้นการสอนด้วยภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิผล. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 11 ประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชาลิสา จิตบุญญาพินิจ, ประสงค์ ประณีตพลกรัง.(2559). ผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 11 ประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ. (2563). แถลงการณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ การจัดการเรียนการสอนช่วง COVID-19. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2564 จาก http://covid19.rnedu.go.th/?p=253.

ณัฐภัทร ติณเวส และฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2559). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบMOOC ของอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ถาวร ทิศทองคำ, สุทธิชา เพชรวีระ. (2559). การใช้ไลน์เพื่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ทิพา ดวงตาเวียง.(2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิซึมกับการสอนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธนวรรณ เจริญนาน, สิริยุพิน ศุภ์ธนัชภัคชนา และปริญญา ทองสอน. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ด้วย Google Classroom เรื่องการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยไมโครซอฟท์เพาเวอร์พ้อย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.วารสารศึกษา มมธ., 7(1).

ธนิตา เทพอินทร์. (2564). เกษตรมืออาชีพ. สืบค้น 6 ธันวาคม 2564 จาก https://www.google.com/search?client=firefox-b.

ธีรวุฒิ เอกะกุล.(2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1.อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

พรศักดิ์ สุจริตรักษ์และชนิตา พิลาไชย.(2563) นวัตกรรมการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบที่ส่งเสริมทักษะการคิด. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 21(2). หน้า 35-52.

เลิศสุขุม ป่งสุด.(2565). แนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 4(3), หน้า 57-73.

วัชราภรณ์ เพ็งสุข, อังคนา กรัณยาธิกุลและ ชาตรี เกิดธรรม. (2558). การพัฒนารูปแบบบทเรียนออนไลน์วิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ว. วิจัยสมาคมห้องสมุด, 8(2).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.(2558). สรุปผลการวิจัย PISA2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2557). ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่ต้องเร่งรัดแก้ไข. สืบค้น 15 กันยายน 2564 จาก https://www.facebook.com/Prof.SombatThamrongthanyawong/posts.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.(2545). ปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2556). ความก้าวหน้าและการได้มาของกรอบการประเมินคุณภาพภายนอก : รอบสี่. จุลสาร สมศ. กรุงเทพฯ: บริษัทแปลนพริ้นท์ติ้ง จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อมรวิชช์ นาครทรรพ.(2542). บทเรียนของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาโครงการการศึกษาไทยยุคโลกาภิวัตน์.

Dixon, W.B. (1992). An exploration study of self-directed learning readiness and pedagogical expectation about learning among built immature learners in Michigan. Dissertation Thesis, Ph.D. Michigan: Michigan State University.

Klaus Schwab. (2018). The global competitiveness reports. 2017-2018 Geneva: SRO-Kundig Press.

Knowles, M.S. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. New York: Association Press.