แนวทางการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม Guidelines for Development of Teachers for the 21st Century Learning Management of Schools under Mahasarakham Provincial Administrative Organization

Main Article Content

นภัสชญา เหล่าสีนาท
ธรินธร นามวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 39 คน และครูผู้สอน จำนวน 166 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาที่พึงประสงค์การพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 6 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อประเมินแนวทาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และแบบประเมินแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการมุ่งเน้นการประเมินเพื่อการเรียนรู้ รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ด้านการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และด้านการใช้เทคโนโลยีเป็นฐานการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 19 แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านการมุ่งเน้นการประเมินเพื่อการเรียนรู้ มี 3 แนวทาง 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มี 5 แนวทาง 3) ด้านการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ มี 5 แนวทาง และ 4) ด้านการใช้เทคโนโลยีเป็นฐานการจัดการเรียนรู้ มี 6 แนวทาง โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เหล่าสีนาท น., & นามวรรณ ธ. (2024). แนวทางการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม: Guidelines for Development of Teachers for the 21st Century Learning Management of Schools under Mahasarakham Provincial Administrative Organization. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(1), 96–112. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4041
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565). นนทบุรี: กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

ฉัตรชัย หวังมีจงมี และองอาจ นัยพัฒน์. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ. วารสารสถาบันเสริมการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 12(2), 47-63.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์. (2561). Digital Education การศึกษาในโลกดิจิทัลกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมือ 21 มกราคม 2565 จาก http://www.digitalagemag.com/digital-Education

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2558). การจัดการเรียนการสอนในโลกยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2565 จาก http://www. moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=43633&Key=hotnew

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้แนวในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิวงศ์.

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ และวรางคณา ทองนพคุณ. (2556). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต 21st Century Skills: The Challenges Ahead. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติพ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2561). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

International Society for Technology in Education (ISTE). (2007). Preparing Teachers to Use Technology. U.S Department of Education’s Preparing : PBS Teacher Line.

Kay, K. (2018). 21st century skills: Why they matter, what they are, and how we get there. In Bellanca, J., & Brandt, R. (Eds.), 21st century skills: Rethinking how

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.