ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการจังหวัด สังกัดสำนักงานอัยการ ภาค 4 Motivation factors affecting the work efficiency of administrative civil servants in the Provincial Attorney's Office. Under the Office of the Prosecutor, Region 4

Main Article Content

ศิริพรรณ พิมดา
สัญญา เคณาภูมิ
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัด สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัด สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัด สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัด สังกัดสำนักงานอัยการ ภาค 4 จำนวน 153 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานใช้การวิเคราะห์พหุคูณถดถอยเชิงเส้น ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัด สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 ได้แก่ ปัจจัยด้านความมั่นคงในการทำงาน (Beta = .363) ปัจจัยด้านความรับผิดชอบ (Beta = .280) ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารงาน (Beta = .244) และ ปัจจัยด้านความสำเร็จของงาน (Beta = .106)สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ ร้อยละ 77.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) ข้อเสนอแนะอื่นๆ ได้แก่ ควรอบรมให้ความรู้ความสามารถในงานธุรการ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการพัฒนาของข้าราชการธุรการ เช่น การสร้างบรรยากาศการทำงานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การให้รางวัลแก่ข้าราชการธุรการที่ปฏิบัติงานดีเด่น ควรมอบหมายงานที่ท้าทายเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ควรใช้คนให้ตรงกับภารกิจที่สำคัญ ควรแบ่งงานกันในทีมและร่วมกันปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ สนับสนุนทุกคนให้พัฒนาตนเองเพื่อความเจริญก้าวหน้าตามเส้นทางอาชีพ ควรจัดควรรับเงินสวัสดิการอย่างเหมาะสม ผู้บังคับบัญชาควรมีไมตรีต่อผู้ใต้บังคับบัญชามีกิจกรรมพบปะสังสรรค์กันตามโอกาส มีกิจกรรม Workshop ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้จากผู้มีประสบการณ์

Article Details

How to Cite
พิมดา ศ., เคณาภูมิ ส., & โกศลกิตติอัมพร เ. (2024). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการจังหวัด สังกัดสำนักงานอัยการ ภาค 4: Motivation factors affecting the work efficiency of administrative civil servants in the Provincial Attorney’s Office. Under the Office of the Prosecutor, Region 4. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(1), 517–531. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4047
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนาพร วงศ์อาจ และโชติ บดีรัฐ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านงานธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ในเขตพื้นที่ภาค 6. Journal of Modern Learning Development, 7(5), 1-14.

ธนภรณ์ พรรณราย (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์,1(2).

นิดา ประพฤติธรรม (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

พระธาตุ, ขวัญตา. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรอัยการที่ปฏิบัติงานในสำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

มณฑกา รัตนโสภา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการส่วนกลาง สำนักงานอัยการสูงสุด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วีณา ขำคง (2564). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. อยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานอัยการสูงสุด. (2562). ผลการประชุม ก.อ. ปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานอัยการสูงสุด.

สุจินต์ พูลปัน (2553). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรรถชัย ณ ภิบาล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York : Harper and Row Publication.