การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติด กรณีศึกษา: บ้านกุดเสถียร ตำบลสร้างมิ่ง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร Community Participation in Drug Prevention and Surveillance. Case Study: Ban Kut Sathien Sang Ming Subdistrict Loeng Nok Tha District, Yasothon Province

Main Article Content

วิษณุ โคตรวิชา
เกรียงไกร บุญประจง
จันทร์เพ็ญ สีชมภู
สนุก สิงห์มาตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดบ้านกุดเสถียร ตำบลสร้างมิ่ง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร 2) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดบ้านกุดเสถียรตำบลสร้างมิ่ง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในลักษณะเจาะลึก ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนและครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการป้องกันและรักษามีส่วนร่วมทุกขั้นตอน และเกิดภาคีเครือข่ายการดำเนินงานภายใต้หลักการการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนและเครือข่าย ด้วยระบบกลไกการสร้างภูมิคุ้มกัน และส่งเสริมนิเวศสังคมชุมชน ครอบครัวแบบมีส่วนร่วมในรักษา โดยใช้ครอบครัวและชุมชนในการบำบัดแบบมีส่วนร่วมด้วยความสมัครใจบำบัดฟื้นฟูและติดตาม ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการป้องกันและรักษาเฝ้าระวังยาเสพติดชุมชนที่คัดเลือกจากทุกภาคส่วน ซึ่งมีขั้นตอนการป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติด โดยมีแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติด 5 ขั้นตอน คือ 1) สร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการร่วมคิด 2) วางแผนการดำเนินงานด้วยการร่วมตัดสินใจของครอบครัว และชุมชน 3) ปฏิบัติการรักษาผู้ติดยาเสพติดตามแนวปฏิบัติที่ยืดหยุ่นตามสิทธิที่จะเปิดเผยตัวตน 4) ร่วมติดตาม และประเมินผลแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้กำลังใจเสริมพลัง และ 5) ดูแลระยะยาวหลังการรักษา โดยใช้กระบวนการร่วมรับผลประโยชน์ ด้วยการให้อภัย ให้โอกาสให้ความรักและดูแล ส่วนข้อเสนอแนะที่พบ ได้แก่ 1.ควรสร้างเครือข่ายและกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ และ 2. ควรเปลี่ยนมุมมองการงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและทำความเข้าใจกับประชาชน

Article Details

How to Cite
โคตรวิชา ว., บุญประจง เ., สีชมภู จ., & สิงห์มาตร ส. (2024). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติด กรณีศึกษา: บ้านกุดเสถียร ตำบลสร้างมิ่ง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร: Community Participation in Drug Prevention and Surveillance. Case Study: Ban Kut Sathien Sang Ming Subdistrict Loeng Nok Tha District, Yasothon Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(1), 292–305. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4094
บท
บทความวิจัย

References

กรรณทิวา มุณีแนม (2562). แนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จักรกฤษณ์ พิญญาพงษ์. (2550). รูปแบบการป้องกันและเฝ้าระวังการใช้สารเสพติดในชุมชน โดยความ ร่วมมือของผู้นำชุมชน กรณีตตำบลบ้านเสี้ยว อำเภออฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จันทร์เพ็ญ มีนคร. (2554). การมีสวนรวมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบล บางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เฉลียว บุรีภักดีและคณะ.(2545). ชุดวิชาการวิจัยชุมชน. นนทบุรี : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ศุภร ชินะเกตุ (2553).ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์. (2558).ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัด สุพรรณบุรี. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 8(3), 28-45.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การมีส่วนร่วม : แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

สายสุดา สุขแสง, เรวดี กระโหมวงศ์, วิมล งามยิ่งยวดและอภินันท์ โชติช่วง.(2560). รูปแบบการเฝ้าระวังในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยภาคประชาชน กรณีศึกษา ต.สาคร อ.ท่าแพ จ.สตูล และ ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้,4(ฉบับพิเศษ 2560),230-242.

สุรีย์ บุญญานุพงศ์, วัชรพงศ์ พุ่มชื่น, กุลิสรา กฤตวรกาณจน์, วิลาวัณย์ หงส์นคร และผจงจิต ติ๊บประสอน. (2552). รูปแบบและกระบวนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด: สถาบันวิจัยสังคม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพ. (2557). แบบสำรวจสถานการณ์เฝ้าระวังสถานการณ์ ปัญหายาเสพติดระดับหมู่บ้าน. สงขลา. เอกสารอัดสำเนา.

สำนักงานประสานงาน และสนับสนุนภาคประชาชน. (2548). โครงการเครือข่ายภาคประชาต่อต้านยาเสพติด ถาม-ตอบ ทำไมชุมชนต้องแก้ไขปัญหายาเสพติด. สำนักงานป้องกันแลปราบปรามยาเสพติด ภาค 5: เชียงใหม่.ศูนย์อำนวยการ.

ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชติและกาญจณา สุขาบูรณ์. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม ในเขตตำบลสามบัณฑิต: ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชนในตำบลสามบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อับดุลคอลิก อัรรอฮีมีย์, สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์, จิรัชยา เจียวก๊ก, ฐานิดาภัทฐ์ แสงทอง. (2564). รูปแบบการป้องกันตนเองในการใช้สารเสพติดซ้ำของผู้ติดสารเสพติดในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี กรณีศึกษา ผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดในศูนย์บำบัดบ้านแสนสุข และสถาบันปอเนาะพัฒนาเยาวชน.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

นิภาวรรณ ตติยนันทพร. (2565). การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันและบำบัดยาเสพติดอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(12),581-596.

พิชเยศ ชูเมือง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาเสพติดของผู้ต้องหาคดียาเสพติด: กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะวิทยาการจัดการภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รณกฤต จิตต์ธรรม. (2563). การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ปู่ เย็น ย่าคํา ยังอยู่แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell University.