เปรียบเทียบการเมืองการปกครองระหว่างไทยกับอังกฤษ Compare Politics and Government Between Thailand with England
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเมืองการปกครองของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไทยได้ใช้รูปแบบหรือโครงสร้างของสถาบันทางการเมืองการปกครองที่มีความคล้ายคลึงกันกับอังกฤษ แต่กลับมีความแตกต่างกันในเชิงปฏิบัติที่เห็นเป็นรูปธรรม และความเป็นประชาธิปไตยอย่างอังกฤษ เช่น ในด้านความเป็นสถาบันทางการเมืองของรัฐสภา พบว่า รัฐสภาไทยยังขาดความเป็นอิสระในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของฝ่ายนักการเมือง มีการแทรกแซงหรือการแทรกซึมกระบวนการตัดสินใจในระดับวุฒิสภา รัฐสภาของอังกฤษมีความเป็นอิสระโดยเด็ดขาดและสูงสุด ซึ่งจำกัด “อำนาจอธิปไตย” ไว้ในขอบเขตของกฎหมายที่จะกำเนิดจากรัฐสภา รัฐสภามีอำนาจมากกว่าทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ ส่วนการพัฒนาทางการเมือง เช่น ไทยยังขาดการสร้างกลไกที่มีมาตรฐานในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางการเมืองในทางปฏิบัติ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่วนประชาชนอังกฤษทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง และเข้าไปสู่ระบบการเลือกตั้งเพื่อการตัดสินใจทางการเมืองซึ่งกำหนดให้พรรคใดพรรคหนึ่งที่ได้รับเสียงข้างมากเป็นผู้บริหารประเทศ ดังนั้น จึงมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีในการศึกษาเปรียบเทียบการเมืองการปกครองระหว่างไทยกับอังกฤษ2) เพื่อเปรียบเทียบการเมืองการปกครองระหว่างไทยกับอังกฤษ ได้แก่ 1) ความเป็นสถาบันทางการเมืองของรัฐสภา ประกอบด้วย 1.1) การมีอิสระต่อกันในการปฏิบัติงาน 1.2) การมีการตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจ 1.3) การมีความรับผิดชอบต่อประชาชน 2) การพัฒนาทางการเมือง ประกอบด้วย 2.1) ความชอบธรรมของระบบการเมือง 2.2) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการเมือง 2.3) เสถียรภาพของระบบการเมือง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติพัฒน์ สุวรรณสิริเมธี. (2550). เอกสารประกอบวิชาปรัชญาการเมืองตะวันตก. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2567 จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14242.
จิรากิตติ์ แสงลี. (2563). ลักษณะพื้นฐานของการปกครองระบบรัฐสภา: ศึกษาเปรียบเทียบระบบรัฐสภาในอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2538). การปฏิรูปทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2557). ความเป็นสถาบันทางการเมืองของรัฐสภาไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 3(1), 33-44.
ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิต. (2564). รัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2546). ชุดโครงการวิจัยการติดตามและประเมินผลบังคับใช้รัฐธรรมนูญ เรื่อง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาลและองค์กรอิสระ. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน.
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2545). หน่วยที่ 15 แนวทางการพัฒนาการเมืองไทย. เอกสารการสอนชุดวิชาสถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประภาศรี ฤกษ์อุดมสิน. (2559). อำนาจหน้าที่และคุณสมบัติของวุฒิสภาตามหลักประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับประเทศไทย. นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พรชัย เลื่อนฉวี. (2550). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2565). สรุปการสัมมนา โครงการรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ ตอนที่ 3 รัฐธรรมนูญอังกฤษ: โครงสร้างที่มา หลักการสำคัญและความเป็นพลวัต. กรุงเทพฯ: สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า.
ภูมิ มูลศิลป์. (2564). บทบาทอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10(3), 306-318.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชารัฐศาสตร์. (2553). เอกสารการสอนชุดวิชาสถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 19. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัฐสภาไทย. (2560). หน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566, จาก https://web.parliament.go.th/view/7/อำนาจหน้าที่รัฐสภาTH-TH.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2566). การพัฒนาการเมือง. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2566, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/การพัฒนาการเมือง.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550:การศึกษาการบังคับใช้. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ.
อมร รักษาสัตย์ และคณะ. (2539). ประชาธิปไตย: อุดมการณ์ หลักการ และแบบอย่างการปกครองหลายประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรณิช รุ่งธิปานนท์. (2561). รัฐสภาราชอาณาจักร: สภาสามัญ สภาขุนนาง. กรุงเทพฯ: หน่วยงานสนับสนุน สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์. (2558). การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2566, จากhttp://www.clm.up.ac.th/doc/ebook_001.pdf.
Axford, B., Browning, G.K., Huggins, R., Rosamond, B., Grant, A. & Turner, J. (2002). Politics: An Introduction. London and New York: Routledge.
Beetham, D. (2007). Parliament and Democracy in the Twenty-First century. Switzerland: Inter-Parliamentary Union.
Dell, G.H., & Carol, L. (1967). Comparative Government and Politics. New York: Dodd. Mead & Company, Inc.
Huntington, S.P. (1963). Political Order in Changing Societies, Conn.: Vale University Press.
Lucian, W.P. (1966). Aspects al Political Development. Boston: Little, Brown.
Mill, J.S. (1991). On Liberty. In J. S. Mill on Liberty in Focus. Edited by John Gray and G. W. Smith. London: Routledge.
Roy, C.M. (1955). The Study of Comparative Government. New York. Doubleday & Company, Inc.