รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ The Development Model for Servant Leadership of Teacher Under The Primary Educational Service Area Office in Roi-Kean-Sara-Sin Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของครู 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เพื่อยืนยันองค์ประกอบและตัวชี้วัด กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อร่างรูปแบบ และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อยืนยันรูปแบบ กลุ่มเป้าหมายทดลองใช้รูปแบบ คือ ครูผู้สอน จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 379 คน เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาที่พึงปรสงค์ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของครู ประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 ด้าน ดังนี้ 1) การสร้างชุมชน 2) การเห็นคุณค่าผู้อื่น 3) การอุทิศตนเพื่อพัฒนาคน 4) การพัฒนาผู้อื่น และ 5) การสร้างความไว้วางใจ 2. สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าสูงสุดถึงต่ำสุด ดังนี้ 1) การสร้างความไว้วางใจ 2) การเห็นคุณค่าผู้อื่น 3) การอุทิศตนเพื่อพัฒนาคน 4) การสร้างชุมชน และ 5) การพัฒนาผู้อื่น ตามลำดับ 3.รูปแบบประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธีระ รุญเจริญ. (2550). รูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบ. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). Leadership ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
วันทนา เนาว์วัน. (2557). การพัฒนาภาวะผู้นาตามหลักพุทธธรรมของบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). การทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ..
สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564). ภาวะผู้นำสมัยใหม่ โลกใบใหม่ที่ครูต้องเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566 จาก https://research.eef.or.th/teacher-leadership/
สมาน อัศวภูมิ. (2550). การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก. เอกสารประกอบการสอนวิชาสัมมนาการศึกษาระดับปริญญาเอก. หน้า 50-53. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และ สรายุทธ กันหลง. (2553). ภาวะผู้นำใฝ่บริการในองค์การ : แนวคิด หลักการ ทฤษฎีและงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริกร ไชยราช. (2562). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (2565). รายงานผลดําเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. มหาสารคาม : กลุ่มนโยบายและแผน สพป.มหาสารคาม เขต 1.
Anderson, K. P. (2005). A correlational analysis of servant leadership and job satisfaction in a religious education organization. (Doctoral dissertation) University of Phoenix, USA.
Cerit, Yusuf. (2010). The Effects of Servant Leader ship Behaviours of School Principals on Teachers’ Job Satisfaction. INT. J. LEADERSHIP IN EDUCATION,13(3), 301–317.
Daft, R.L. (2002). The Leadership Experience. (2nd ed). Fort Worth, Tx: Harcourt, College.
Eisner, E. (1976). Educational Connoisseurship and Criticism : Their form and Functions in Educational Evaluation. Journal of Aesthetic Evaluation or Education. 10, 1976.
Greenleaf, R.K. (2002). Servant Leadership: A Journey into the Nature of Legitimate Power and Greatness. NJ: Paulist Press.
Hays, JM. (2008). Teacher as servant applications of Greenleaf's servant leadership in higher education. Journal of Global Business Issues.
Joyce, B.R., and Weil, M. (2000). Models of Teaching. (6th ed). Massachusetts: Allyn & Bacon.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.
Laub, J. (2004). Organizational Leadership Assessment (OLA) Model. Defining servant leadership and the healthy organization.
Patterson, K. (2003). Servant leadership : A theoretical model. (Doctoral dissertation). Regent University, Virginia Beach, VA. USA.
Spears, L. C. (2004). The Understanding and practice of Servant - leadership. In L.C. Spears, & M. Lawrence (Eds), Practicing servant leadership : Succeeding.
Valdemar A. H. (2008). Employee satisfaction and organizational commitment: A mixed methods investigation of effects of servant leadership. (Doctoral dissertation). Capella University, USA.